กลอนแปด
“ยอดกษัตริย์พัฒนาปรีชาล้ำ พระองค์ทำนำร่องต้องศึกษา พระราชทานงานใหญ่ให้ประชา เกิดคุณค่าฟ้ารู้สู่ผืนดิน ธ ทรงโครงการพระราชดำริ ราชปิติวิวัฒน์จัดเพิ่มสิน มอบประชามาไว้ให้ทำกิน ไทยทั่วถิ่นยินดีมีสุขล้น ..... ร่วมใจพร้อมน้อมนำคำพ่อสอน ทุกขั้นตอนย้อนคิดประสิทธิ์ผล ประเสริฐหนอพ่อครูภูมิพล ทั่วโลกยลสนงานการอุทิศ ผองชาวไทยใจภักดิ์รักพ่อหลวง หลอมทุกดวงปวงไทยได้เพ่งพิศ เทิดพระองค์จงรักประจักษ์จิต ธ สถิตจิตใจไทยนิรันดร์”
ขอต้อนรับสู่กลอนแปด ของครูวัลลภ มากมี
บทกลอนทั้งหมดนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม) ไม่อนุญาตให้นำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่แอบแฝงแสวงหาผลประโยชน์ ยกเว้นการลิงก์เข้าสู่เว็บบล็อกนี้

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กลอนอินเตอร์เน็ต, กลอนไอที

     กลอนแปดแตกต่างจากกลอนแปดสุภาพ คลิกดู เสียงวรรณยุกต์ของกลอนแปดสุภาพ
     สำหรับเว็บบล็อก "กลอนแปด" นี้จะประกอบไปด้วยกลอนแปดสุภาพ  หัวข้อใหญ่ ดังต่อไปนี้
๑. กลอนแปดสุภาพ กับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมตัวอย่างกลอนแปด (หน้าแรกนี้)  
๒. กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรักความเข้าใจใน ๓ สถาบันหลักของชาติไทย คือ
    ๒.๑ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันชาติ ด้านมนุษยศาสตร์ ดังต่อไปนี้
          ๒.๑.๗ วันครู
          ๒.๑.๑๒ ๕ อ.
          ๒.๑.๑๓ รถติด
          ๒.๑.๑๖ รัก
     ๒.๒ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันศาสนา มีกลอนธรรมะ ดังต่อไปนี้
     ๒.๓ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังต่อไปนี้


หมายเหตุ  ผู้เขียนเน้นสัมผัสในทุกวรรคโดยแนวการสัมผัสในได้ยึดหลักจากบทกลอนที่เป็น Idol คือ “น้ำใส ไหลเย็น เห็นตัวปลา”

กลอนแปดสุภาพ
กลอนอินเตอร์เน็ต
กลอนไอที
กลอนคอมพิวเตอร์, กลอนสื่อดิจิทัล (Digital Media),
กลอนเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT)
กลอนสังคมก้มหน้า
     "Internet เกล็ดดี มีเหลือหลาย
เช่นซื้อขาย ง่ายกับ ธุรกิจ
เป็นสื่อกลาง สร้างเสริม เพิ่มพาณิชย์
เร็วดั่งคิด ติดต่อ ย่อเวลา
     ประหยัดเงิน เพลินใจ ใช้ส่งสาร
ช่วยทำงาน ผ่านต่อ ก่อคุ้มค่า
ส่ง E-mail เร็วไว ในพริบตา
แนบ File มา หากัน นั้นมากมาย
     เป็นระบบ ครบครัน ทันสมัย
สร้างสิ่งใหม่ ให้อยู่ สู่เครือข่าย
สัญญาณตรง ส่งกัน พลันกระจาย
ด้วย Wi-Fi ใช้ Share แค่พริบตา
     ช่วยสื่อสาร ผ่านไว ได้สร้างสรรค์
ส่งต่อกัน ปันแบ่ง แหล่งศึกษา
ใช้ถูกทาง อย่างดี มีปัญญา
สื่อกลางพา มาคู่ อยู่หน้าจอ
     Load เร็วจริง วิ่งดี ไม่มีค้าง
สู่โลกกว้าง ทางใหญ่ ไร้รอยต่อ (Seamless)
ทั้งบันเทิง เริงรมย์ สมใจพอ
เรื่องบ้าบอ ก็ไว ได้ระบือ
     โต้ตอบกัน (Interact) ทันที (Real time) ที่ประสงค์
แค่พิมพ์ส่ง ลงไป ได้เป็นสื่อ
โลกทั้งใบ ได้ย่อ รอสู่มือ (Summary the world in the hand)
ข้อมูลอื้อ ถือเป็น เช่นตำรา
     โลก Cyber เผลอหน่อย จะถอยหลัง
Apps ไหนดัง ตั้งใจ ไปเสาะหา (Apps = Applications)
ทั้งซื้อขาย หลายแบบ แอบ Load มา
Intrend กว่า ถ้าคล่อง ต้องหัวไว
(Intrend ที่คนไทยชอบพูดนั้นไม่ถูกต้องในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำที่ถูกต้องคือ Trendy)
     เล่น Facebook ยุคนี้ มีแต่เพื่อน
ไม่ลืมเลือน เยือนกัน หมั่นกด Like
ต่างพรมแดน แล่นสู่ ผู้ Online
Post เอาไว้ ให้ดู สู่สายตา
     อยู่ห่างไกล ได้เห็น เช่นใกล้ชิด
พร้อมญาติมิตร ติดใจ ได้เห็นหน้า
Share เรื่องดี ที่เด่น เน้นเฮฮา
เกิดคุณค่า พาใจ ไม่เว้นวรรค (เว้นวรรคทางการเมือง = Political Spaces)
     Google Plus คัดสรรค์ ปันภาพสวย
Hangouts ด้วย ช่วยเห็น เป็นประจักษ์
สร้างชุมนุม ชุมชน คนทายทัก
ชอบยิ่งนัก มักแจก แลกบวก (+) กัน
     โทรศัพท์ รับส่ง ทรงคุณค่า
พัฒนา มาใหม่ ให้สร้างสรรค์
ดุจปัจจัย ใช้คู่ อยู่ทุกวัน
หากตามทัน มั่นไว้ ไม่มีอาย
     Smartphone โดนใจ ให้น่าสน
เลิศเหลือล้น คนชอบ ขอบคุณหลาย
Load เพลงดัง หนังดี ฟรีมากมาย
สุขสบาย ถ่าย Clip Trip สำราญ
     Selfie สวย ช่วยปรับ Upload ต่อ
Post ไม่พอ ขอ Share แม้อาหาร
นี่อะไร ให้ดู อยู่ในจาน
ถ่ายก่อนทาน นานหน่อย คอยอีกพัก
(Selfie หมายถึงการถ่ายรูปตัวเอง)
     ล้ำสมัย ไฮเทคโนโลยี่
สามสี่จี ดีเด่น เป็นประจักษ์
Clip ใดโปรด Load ไว้ ไวยิ่งนัก
ปัจจัยหลัก มักโทรฯ โชว์ Game รอ

                 สังคมก้มหน้า
     กระแสดัง สังคม ชอบก้มหน้า
พุ่งสายตา พาใจ ให้จดจ่อ
จิ้มขยาย ให้กว้าง ถ่างหน้าจอ
แจ่มจริงหนอ ขอ Chat แวดวงวาน
     ต้องการใหญ่ iPad Chat กันง่าย
ดูสบาย สายตา ให้น่าอ่าน
เป็น iBooks ทุกอย่าง สร้างผลงาน
เอกสาร การ Sketch เสร็จเร็วพลัน
     โลกเล็กลง ส่งผล คนชื่นชอบ
ค้นคำตอบ รอบรู้ ผู้สร้างสรรค์
แปลภาษา พาให้ ไม่ตีบตัน
รู้เท่าทัน กันดี มีปัญญา
     Yahoo, Google Search เพลิดเพลินยิ่ง
อีกทั้ง Bing สิ่งดี ที่ช่วยหา
เรื่องอะไร ได้เจอ เสนอมา
เสริมคุณค่า สาระ เจริญใจ
     จะไปไหน ให้รู้ ดูแผนที่
ภาพก็มี ดีหลาย ขยายใหญ่
Street View ลิ่วต่ำ สำรวจไป
เปิดโลกใหม่ ใคร่รู้ ดูให้เจอ
     เล่น WhatsApp แว่บ Tango โชว์ Skype
ชอบเล่น Line ไว้ส่ง Sticker
ทั้ง Cubie มี Talk บอกกับเธอ
Twitter เผลอหนัก จักเลอะเลือน
     ถ้าหมกมุ่น วุ่นนาน งานป่นปี้
สิ่งเหล่านี้ ชี้สังคม สมเสมือน (Virtual Community)
อาจฟุ้งซ่าน พาลผิด จิตฟั่นเฟือน
สัญญาณเยือน เตือนมา พาหลงทาง
     สิ่งเสพติด ชนิดใหม่ โลก Cyber
บางคนเผลอ เพ้อเล่น ไม่เว้นว่าง
ทิ้งหน้าที่ หนีงาน การกิจวาง
หงุดหงิดบ้าง สร้างใจ ให้ขุ่นเคือง
     ติด Game หนัก จักแย่ แน่จริงหนา
ทุกเวลา มาเล่น ไม่เป็นเรื่อง
Chat ทั้งวัน นั้นไซร้ ไม่ประเทือง
เล่นต่อเนื่อง เฟื่องเฟ้อ เผลอชีวิต
     ต้องศึกษา หาธรรม นำมาแก้
ต้องแน่วแน่ แม้อยาก หากว่าติด
ออกกำลัง ตั้งใจ ได้สักนิด
ควรรู้คิด ปิดไป ใฝ่ทำงาน"
     
ประพันธ์โดยวัลลภ มากมี

เมื่อวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ (ในงานวันนักประดิษฐ์ ๒๕๕๖)

คลิปการใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี

     
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Internet Addiction Disorder)
     ข้อมูลจาก http://www.gracezone.org/index.php/technology/601-internet-addiction-disorder-
(Internet Addiction Disorder หรือ IAD) เป็น กลุ่มอาการทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ตในการเสพข้อมูลหรือข่าวสารมากเกินไป และหากเปรียบเทียบกับการติดดูโทรทัศน์หรือการติดอย่างอื่นๆ แล้วอินเทอร์เน็ตจะมีข้อแตกต่างกับสื่ออื่นๆ ก็คือ ความสามารถโต้ตอบ (Interact) กับผู้ที่เข้ามาใช้คนอื่นๆ ได้ทันที (Real Time) ซึ่งทำให้โลกของอินเทอร์เน็ตมีความเสมือนเป็นเหมือนโลกอีกโลกหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถ มีตัวตนในโลกนั้นได้ โดยปราศจากกฎเกณฑ์ และไร้ขอบเขตในการเดินทาง และสร้างตัวตนในโลกอินเทอร์เน็ตตามที่ตัวเองต้องการได้ ซึ่งหากผู้ใช้ยึดติดกับสังคมในโลกของอินเทอร์เน็ต จนแยกไม่ออกว่าโลกของความจริงและโลกเสมือน จะนำมาซึ่งสาเหตุของเป็นโรคติดอินเทอร์เน็ตได้ ตัวอย่างของบริการอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะการสร้างเป็นสังคมเสมือน (Virtual - Community) ได้แก่ ห้องแช๊ตรูม เว็บบอร์ด หรือแม้กระทั่ง เกมส์ออนไลน์ ที่เด็กๆนิยมเข้าไปเล่นกันมากมาย ซึ่งโรคติดอินเทอร์เน็ตนั้นก็คล้ายๆ กับการติดสิ่งเสพติดต่างที่สร้าง ปัญหาให้เกิดกับ ระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆนั้น ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นสิ่งที่บอกว่าคุณเป็นโรคติดอินเทอร์เน็ตหรือไม่ นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young จาก University of Pittsburgh Medical School ได้วิเคราะห์ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย ๔ ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
     ๑. รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
     ๒. มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ
     ๓. ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
     ๔. รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
     ๕. คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
     ๖. ใช้เป็นอินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
     ๗. หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
     ๘. มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย
     และนอกจากนี้ เราสามารถจำแนกรูปแบบและลักษณะของการติดอินเทอร์เน็ตออกได้หลายรูปแบบตาม ตารางข้างล่างนี้ หรือหากคุณต้องการทดสอบว่าคุณติดอินเทอร์เน็ตในระดับไหนก็สามารถเข้าไปได้ ที่ http://www.netaddiction.com/resources/iaindex.htm

รูปแบบและลักษณะของการติดอินเทอร์เน็ต
     ๑. Cyber Sexual Addiction การติดเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเพศ เช่นการดูเว็บโป๊
     ๒. Cyber-Relationship Addiction การคบเพื่อนจากห้องแชตรูม,เว็บบอร์ด นำมาทดแทนเพื่อนหรือครอบครัวในชีวิตจริง
     ๓. Net Compulsion การติดการพนัน, การประมูล สินค้า, การซื้อ-ขายทางอินเทอร์เน็ต
     ๔. Information Overload การติดการรับข้อมูลข่าวสาร จนไม่สามารถยั้บยั้งได้
     ๕. Computer Addition การใช้คอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่ไม่สามารถยับยั้งใจได้ เช่น การเล่นเกมส์ออนไลน์

วิธีการป้องกันและรักษาจากโรคติดอินเทอร์เน็ต 
     หลายๆ คนคิดว่าการรักษาโรคติดอินเทอร์เน็ต ก็เพียงแค่ดึงปลั๊กคอมพิวเตอร์และถอดสายโทรศัพท์ออกจากโมเด็ม แต่ Ivan Goldberg จิตแพทย์ ผู้ค้นพบโรคติดอินเทอร์เน็ต ได้ให้คำแนะนำในการป้องกันและช่วยเหลือกับผู้ที่คิดว่าตัวเองเป็นหรือกำลัง จะเป็นโรคนี้ว่า ก่อนอื่นต้องรู้ว่าตัวคุณเองใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไปหรือไม่ ในระดับไหน และรูปแบบลักษณะของการใช้ไปในรูปแบบใด จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์จากพื้นฐานของปัญหาจริงๆ ว่าเกิดจากอะไร ทำไมถึงคุณถึงได้ใช้อินเทอร์เน็ตมากขนาดนั้น ซึ่งทั้งหมดอาจจะเกิดจากตัวคุณเอง หรือสังคมที่อยู่รอบข้างตัวคุณ ขั้นตอนที่สามคือการวางแผนการที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้น มากกว่าที่จะหลีกหนี หรือละเลยมันไป การหลีกหนีจากปัญหาจากโลกแห่งความจริง เข้ามาสู่โลกของอินเทอร์เน็ตไม่ได้ทำให้ปัญหาเหล่านั้นหายไป ลองปรึกษาคนรอบข้าง หาเพื่อนและเข้าสังคมมาก จริงอยู่ อินเทอร์เน็ตกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม เพิ่มความสะดวกสบายมาสู่การดำเนินชีวิตมากขึ้น นอกจากนั้น อินเทอร์เน็ตยังช่วยเปิดโลกทัศน์และสังคมของผู้คนให้กว้างขึ้นด้วย ในทางกลับกัน ผู้คนมีสิทธิที่จะเลือกใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย สร้างความบันเทิง และใช้อินเทอร์เน็ตในการรู้จักโลกให้กว้างขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน เลือกที่จะออกไปเห็นโลก สังคม และผู้คนจริงๆ ซึ่งอาจจะสนุกและน่าสนใจกว่า (หรือไม่ก็ตาม) มากกว่าการที่จะรู้จักโลกในทุกมุมมองผ่านทางอินเทอร์เน็ต

แหล่งที่มา http://www.edu.cru.in.th/edu2009/index.php?option=com_content&view=article&id=21%3Aq-q&catid=9%3A2009-07-18-03-02-10&Itemid=7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น