สำหรับเว็บบล็อก "กลอนแปด" นี้จะประกอบไปด้วยกลอนแปดสุภาพ ๒ หัวข้อใหญ่ ดังต่อไปนี้
๑. กลอนแปดสุภาพ กับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม, ตัวอย่างกลอนแปด (หน้าแรกนี้)
๒. กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรักความเข้าใจใน ๓ สถาบันหลักของชาติไทย คือ
๒.๑ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันชาติ ด้านมนุษยศาสตร์ ดังต่อไปนี้
๒.๒ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันศาสนา มีกลอนธรรมะ ดังต่อไปนี้
๒.๓ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังต่อไปนี้
กลอนของท่านพุทธทาส ภิกขุ
หมายเหตุ ผู้เขียนเน้นสัมผัสในทุกวรรคโดยแนวการสัมผัสในได้ยึดหลักจากบทกลอนที่เป็น Idol คือ
“น้ำใส ไหลเย็น เห็นตัวปลา”
กลอนแปดสุภาพ (คลิกดูเสียงวรรณยุกต์)
กลอนธรรมะ
กลอนมีธรรมนำใจ
คอยขจัด ปัดพ้น หนทางชั่ว
จิตเมตตา การุณย์ คุณค่าตัว
ไม่หมองมัว กลัวบาป ตราบชีวิต
ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ
เป็นภาวะ สะสม ถมดวงจิต
คือกิเลส เขตดำ ทำมืดมิด
ดุจต่อมพิษ คิดต่ำ ซ้ำซ่อนซุก
รู้หลักธรรม นำจริง ยิ่งดีหลาย
จิตผ่อนคลาย กายดี มีความสุข
แต่อธรรม นำพา หาความทุกข์
อย่าให้รุก บุกใจ ให้แฝงเร้น
ถือธรรมะ ละทิ้ง สิ่งหมองศรี
ถือความดี มีธรรม นำให้เด่น
ถือศีลธรรม นำใจ ใฝ่บำเพ็ญ
จะอยู่เย็น เป็นสุข ไม่ทุกข์ทน
โทษว่ากรรม นำมา พาให้ทุกข์
ไม่มีสุข ผูกติด จิตสับสน
ไม่รู้จัก หักห้าม ความคิดตน
จึงส่งผล บ่นว่า ข้ามีกรรม
แท้ที่จริง สิ่งนั้น นั่นเพราะจิต
เพราะความคิด ติดบ่วง ล่วงถลำ
ทุกข์เพราะใจ ไงเล่า เข้าครอบงำ
ควรหาธรรม นำทาง สร้างจิตตน
เจริญธรรม นำจิต ปลิดความทุกข์
เจริญสุข ถูกทาง สร้างกุศล
“ศีล สมาธิ ปัญญา” พาหลุดพ้น
“มรรค ๘” ผล หนทาง สร้างนิพพาน
(ประพันธ์โดยวัลลภ มากมี เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕)
ขอขอบคุณ คุณครูสราวุธ หวังดี ผู้ให้ข้อมูลทางด้านพุทธศาสนา
เจริญสุข ถูกทาง สร้างกุศล
“ศีล สมาธิ ปัญญา” พาหลุดพ้น
“มรรค ๘” ผล หนทาง สร้างนิพพาน
(ประพันธ์โดยวัลลภ มากมี เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕)
ขอขอบคุณ คุณครูสราวุธ หวังดี ผู้ให้ข้อมูลทางด้านพุทธศาสนา
กลอนแปดสุภาพ
กลอนเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย
"เกิดมาทุกข์ สุขบ้าง ต่างชนชั้น
แก่ตัวพลัน สั่นไหว กายเหี่ยวเฉา
เจ็บป่วยไข้ ได้ยา พาบรรเทา
ตายก็เน่า เจ้าจง ปลงไว้เอย"
(ประพันธ์โดยวัลลภ มากมี เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕)กลอนเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย
"เกิดมาทุกข์ สุขบ้าง ต่างชนชั้น
แก่ตัวพลัน สั่นไหว กายเหี่ยวเฉา
เจ็บป่วยไข้ ได้ยา พาบรรเทา
ตายก็เน่า เจ้าจง ปลงไว้เอย"
คำเตือน สูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและคนใกล้ชิด
อริยสัจสี่เป็นหลักการแก่นแท้แห่งธรรมะของพุทธศาสนา
กลอนแปดสุภาพ
กลอนอริยสัจ ๔ (ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค)
พุทธศาสนา ค่าเลิศล้ำ
มีหลักธรรม นำพ้น ต้นปัญหา
ดับกิเลส เขตทุกข์ ที่รุกมา
ควรศึกษา มาไว้ ได้ฝึกดู
“อริยสัจ ๔” ดีสุดแสน
เป็นหลักแกน แก่นแท้ แก่ทุกผู้
“ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค” หลักการรู้
นำจิตสู่ ผู้ตื่น ผู้ชื่นบาน
“ทุกข์” อุปทานขันธ์ นั้นมีห้า
เวทนา-สัญญา-รูป-สังขาร
กายรับรู้ สู่ใจ ในวิญญาณ
อุปทาน ผ่านเจต กิเลสซ้ำ
“สมุทัย” ในเหตุ เขตความทุกข์
แย่งความสุข รุกล้น จนถลำ
๓ ตัณหา (กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภวตัณหา) พาฉุด จุดจดจำ
เป็นบ่วงกรรม นำเรา เข้าตรึงไว้
“นิโรธ” โปรดนิพพาน การดับทุกข์
เข้าถึงสุข ปลุกจิต คิดผ่องใส
ดับกิเลส (อุปธิ) เหตุมี ที่จิตใจ
ดับอาลัย ให้หมด ปลดปล่อยวาง
ปฏิบัติ หัดไว้ ในเรื่อง “มรรค”
แจ้งประจักษ์ หลักถือ คือ ๘ อย่าง
มัชฌิมาปฏิปทา ว่าสายกลาง
เป็นหนทาง สร้างคน พ้นทุกข์ไป
“อริยสัจ ๔” ชี้ทางสุข
รู้ว่า “ทุกข์” ปลุกจิต คิดแก้ไข
ค้นปัญหา อย่าละ “สมุทัย”
“นิโรธ” ไว้ ใช้ “มรรค” จักนิพพาน
(ประพันธ์โดย นายวัลลภ มากมี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖)
หมายเหตุ มรรคหมายถึงหนทางอันชอบในการดับทุกข์มี ๘ ประการ (๓ ขั้น) คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) ขั้นปัญญา (ทำให้บริสุทธิ)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) ขั้นปัญญา (ทำให้บริสุทธิ)
๓. สัมมาวาจา (การเจรจาชอบ) ขั้นศีล (การละความชั่ว)
๔. สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) ขั้นศีล (การละความชั่ว)
๑. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) ขั้นปัญญา (ทำให้บริสุทธิ)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) ขั้นปัญญา (ทำให้บริสุทธิ)
๓. สัมมาวาจา (การเจรจาชอบ) ขั้นศีล (การละความชั่ว)
๔. สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) ขั้นศีล (การละความชั่ว)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ขั้นศีล (การละความชั่ว)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ขั้นสมาธิ (ทำความดี)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ขั้นสมาธิ (ทำความดี)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ขั้นสมาธิ (ทำความดี)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ขั้นสมาธิ (ทำความดี)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ) ขั้นสมาธิ (ทำความดี)
กลอนแปดสุภาพ
กลอนเบญจธรรม, เบญจศีล
“ยึดศีลธรรม นำใจ ได้สุขศรี
สร้างความดี มีจิต คิดผ่องใส
หลักศีลห้า มานำ ประจำใจ
ทำเข้าไว้ ได้ชื่อ ระบือนาม
เบญจธรรม นำใจ ให้ล้ำค่า
มีเมตตา อาชีวะ ละสิ่งห้าม
ไม่เจ้าชู้ คู่ใคร ไปมั่วกาม
สัจจะงาม ความรู้สึก สำนึกพา
เบญจศีล ยินดี ที่ขอย้ำ
ศีลห้าทำ จำไว้ ไม่เข่นฆ่า
ไม่ลักทรัพย์ กับไม่ ใฝ่กามา
ทั้งมุสา ยาเสพติด ผิดศีลเอย”
(ประพันธ์โดย นายวัลลภ มากมี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖)
กลอนแปดสุภาพ
กลอนศีลห้า
“ถ้าทุกคน สนใจ ในศีลห้า
รู้รักษา หาธรรม นำวิถี
ไร้ซึ่งโจร ปล้นฆ่า และราวี
สังคมดี มีสุข ทุกวันคืน
ศีลข้อหนึ่ง พึงเว้น การเข่นฆ่า
กรุณา ปราณี ชีวิตอื่น
อย่าอาฆาต บาดใหญ่ ใช้มีดปืน
จิตใจชื่น ยืนยง คงเมตตา
ศีลข้อสอง ต้องไม่ ลักของเขา
ไม่หลอกเอา เข้าครอง ของมีค่า
ไม่โกงกิน สินบน ปล้นเงินตรา
เงินรักษา หาเอง เร่งทำดู
ศีลข้อสาม กามหนัก หักห้ามไว้
อย่าขืนใจ ใครช้ำ ทำอดสู
รู้จักห้าม ความคิด จิตเจ้าชู้
ครองเคียงคู่ รู้ชอบ ครอบครัวดี
ศีลข้อสี่ นี้ว่า อย่าโกหก
อย่าพูดวก ยกตน ปนเสียดสี
อย่าปากร้าย อายบ้าง สร้างวจี
กลอนแปดสุภาพ
กลอนเบญจธรรม, เบญจศีล
“ยึดศีลธรรม นำใจ ได้สุขศรี
สร้างความดี มีจิต คิดผ่องใส
หลักศีลห้า มานำ ประจำใจ
ทำเข้าไว้ ได้ชื่อ ระบือนาม
เบญจธรรม นำใจ ให้ล้ำค่า
มีเมตตา อาชีวะ ละสิ่งห้าม
ไม่เจ้าชู้ คู่ใคร ไปมั่วกาม
สัจจะงาม ความรู้สึก สำนึกพา
เบญจศีล ยินดี ที่ขอย้ำ
ศีลห้าทำ จำไว้ ไม่เข่นฆ่า
ไม่ลักทรัพย์ กับไม่ ใฝ่กามา
ทั้งมุสา ยาเสพติด ผิดศีลเอย”
(ประพันธ์โดย นายวัลลภ มากมี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖)
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เบญจธรรม กับเบญจศีล
เบญจธรรม (ธรรม ๕ ข้อ) |
เบญจศีล (ศีล ๕) |
๑. เมตตา กรุณา ความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่นและความสงสารคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ |
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี เว้นจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต |
๒. สัมมาอาชีวะ : เลี้ยงชีพในทางที่ชอบประกอบด้วยธรรม |
๒. อทินนาทานา เวระมะณี เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ |
๓. กามสังวร การสำรวมในกาม (สทารสันโดษ, ปติวัตร) |
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม |
๔. สัจจะ ความมีสัตย์มีความจริงใจ พูดจริง ทำจริง |
๔. มุสาวาทา เวระมะณี เว้นจากการพูดเท็จ |
๕. สติ สัมปชัญญะ มีความระลึกได้ รู้สึกตัวอยู่เสมอ |
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุรา ยาเสพติด และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท |
กลอนแปดสุภาพ
กลอนศีลห้า
“ถ้าทุกคน สนใจ ในศีลห้า
รู้รักษา หาธรรม นำวิถี
ไร้ซึ่งโจร ปล้นฆ่า และราวี
สังคมดี มีสุข ทุกวันคืน
ศีลข้อหนึ่ง พึงเว้น การเข่นฆ่า
กรุณา ปราณี ชีวิตอื่น
อย่าอาฆาต บาดใหญ่ ใช้มีดปืน
จิตใจชื่น ยืนยง คงเมตตา
ศีลข้อสอง ต้องไม่ ลักของเขา
ไม่หลอกเอา เข้าครอง ของมีค่า
ไม่โกงกิน สินบน ปล้นเงินตรา
เงินรักษา หาเอง เร่งทำดู
ศีลข้อสาม กามหนัก หักห้ามไว้
อย่าขืนใจ ใครช้ำ ทำอดสู
รู้จักห้าม ความคิด จิตเจ้าชู้
ครองเคียงคู่ รู้ชอบ ครอบครัวดี
ศีลข้อสี่ นี้ว่า อย่าโกหก
อย่าพูดวก ยกตน ปนเสียดสี
อย่าปากร้าย อายบ้าง สร้างวจี
คำพูดชี้ มีค่า น่าฝึกปรือ
ศีลข้อห้า ว่าไว้ ไม่ดื่มเหล้า
สิ่งมึนเมา เจ้ากรรม ทำเสียชื่อ
อุบัติเหตุ เภทภัย ได้ล่ำลือ
ครบครันคือ เสพยา อย่าได้คิด
ยึดศีลห้า มานำ ทำมั่นไว้
สังคมใหญ่ ได้สุข ทุกดวงจิต
ไม่เบียดเบียน เพียรบุญ หนุนชีวิต
รู้ว่าผิด นิดหน่อย อย่าปล่อยเลย”
ศีลข้อห้า ว่าไว้ ไม่ดื่มเหล้า
สิ่งมึนเมา เจ้ากรรม ทำเสียชื่อ
อุบัติเหตุ เภทภัย ได้ล่ำลือ
ครบครันคือ เสพยา อย่าได้คิด
ยึดศีลห้า มานำ ทำมั่นไว้
สังคมใหญ่ ได้สุข ทุกดวงจิต
ไม่เบียดเบียน เพียรบุญ หนุนชีวิต
รู้ว่าผิด นิดหน่อย อย่าปล่อยเลย”
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ศีล (Morality) คือความปกติ และการรักษาศีลก็คือ ความตั้งใจรักษาปกติของตน อันเป็นหลักปฏิบัติที่ไม่ทำให้เดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น และเป็นหลักแห่งความประพฤติที่จะทำให้เกิดความสะอาดทางกาย และวาจา ศีลมีประเภทต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับบุคคลแต่ละระดับดังนี้
ตอบลบศีล ๕ (เบญจศีล) สำหรับบุคคลทั่วไป
ศีล ๘ (อัฏฐศีล, อุโบสถศีล) สำหรับอุบาสกอุบาสิกา
ศีล ๑๐ (ทสศีล) สำหรับสามเณร
ศีล ๒๒๗ (ปาฏิโมกข์) สำหรับภิกษุ
ศีล ๓๑๑ สำหรับภิกษุณี
สาธุ ค่ะ
ลบ#วันโกน #วันพระ
ตอบลบฟังธรรมะ รักษาศีล
อย่าได้สน เรื่องภายนอก เกินความจริง
ตั้งจิตมั่น ปัจุบัน ภาวนา
กำหนดรู้ กาย เวทนา และดวงจิต
มันกระพริบ เกิดดับไป ไวนักหนา
ตามให้ทัน รู้ให้ทัน ดับกระพริบตา
ถอนตัญหา อุปทาน ขันธ์ที่มี
หนทางนี้ ชื่อว่ามรรรค มีองค์8
เป็นเหมือนแสง ส่องให้เห็น ทุกข์ทั้งหลาย
เมื่อเห็นทุกข์ รู้ทุกข์อยู่ สมุทัยคลาย
แจ้งที่หมาย ทางดับ นิโรธเอย
Maw1n.
ชีวิตที่ไร้ค่า
ตอบลบอันคืนวัน พลันดับ ลงลับล่วง ท่านทั้งปวง อุตส่าห์สร้าง ทางกุศล แก่ลงแล้ว รำพึง ถึงตัวตน อายุคน นั้นไม่ยืน ถึงหมื่นปี วันเดือนปี ที่ผ่านไป คล้ายความฝัน ชีวิตพลัน หมดไป น่าใจหาย มวลญาติมิตร เงินทอง ของมากมาย ต้องมลาย จากกัน เหมือนฝันเอย
ตอบลบขออนุญาตนำบทกลอนหลักอริยสัจ 4 ไปประกอบหนังสั้นของนักเรียนนะคะ
ตอบลบ