กลอนแปด
“ยอดกษัตริย์พัฒนาปรีชาล้ำ พระองค์ทำนำร่องต้องศึกษา พระราชทานงานใหญ่ให้ประชา เกิดคุณค่าฟ้ารู้สู่ผืนดิน ธ ทรงโครงการพระราชดำริ ราชปิติวิวัฒน์จัดเพิ่มสิน มอบประชามาไว้ให้ทำกิน ไทยทั่วถิ่นยินดีมีสุขล้น ..... ร่วมใจพร้อมน้อมนำคำพ่อสอน ทุกขั้นตอนย้อนคิดประสิทธิ์ผล ประเสริฐหนอพ่อครูภูมิพล ทั่วโลกยลสนงานการอุทิศ ผองชาวไทยใจภักดิ์รักพ่อหลวง หลอมทุกดวงปวงไทยได้เพ่งพิศ เทิดพระองค์จงรักประจักษ์จิต ธ สถิตจิตใจไทยนิรันดร์”
ขอต้อนรับสู่กลอนแปด ของครูวัลลภ มากมี
บทกลอนทั้งหมดนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม) ไม่อนุญาตให้นำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่แอบแฝงแสวงหาผลประโยชน์ ยกเว้นการลิงก์เข้าสู่เว็บบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กลอนสอนใจ วัยเรียน

     กลอนแปดแตกต่างจากกลอนแปดสุภาพ คลิกดู เสียงวรรณยุกต์ของกลอนแปดสุภาพ
     สำหรับเว็บบล็อก "กลอนแปด" นี้จะประกอบไปด้วยกลอนแปดสุภาพ  หัวข้อใหญ่ ดังต่อไปนี้
๑. กลอนแปดสุภาพ กับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมตัวอย่างกลอนแปด (หน้าแรกนี้)  
๒. กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรักความเข้าใจใน ๓ สถาบันหลักของชาติไทย คือ
    ๒.๑ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันชาติ ด้านมนุษยศาสตร์ ดังต่อไปนี้
          ๒.๑.๗ วันครู
          ๒.๑.๑๒ ๕ อ.
          ๒.๑.๑๓ รถติด
          ๒.๑.๑๖ รัก
     ๒.๒ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันศาสนา มีกลอนธรรมะ ดังต่อไปนี้
     ๒.๓ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังต่อไปนี้


     กลอนแปดสุภาพของท่านสุนทรภู่ มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท

หมายเหตุ ผู้เขียนเน้นสัมผัสในทุกวรรคโดยแนวการสัมผัสในได้ยึดหลักจากบทกลอนที่เป็น Idol คือ
“น้ำใส  ไหลเย็น  เห็นตัวปลา”      
กลอนแปดสุภาพ 
กลอนสอนใจ วัยเรียน

     "รู้อะไร ไม่สู้ รู้ศึกษา
เสริมคุณค่า อาชีพ รีบขวนขวาย
เมื่อเติบใหญ่ ได้รับ นับสบาย
รู้รอบกาย หายจน พ้นทางตัน

     ต้องฝึกเขียน เรียนไว้ ให้เลิศหรู
เป็นประตู สู่โลก โชคดั่งฝัน
รู้ลึกกว้าง สร้างภูมิ คอยคุ้มกัน
ต้องมุ่งมั่น ขันแข่ง แหล่งวิชา

     ความรู้นั้น นั่นหรือ คือประทีป
สู่อาชีพ สิบร้อย คอยตรงหน้า
แสงสว่าง ทางใส ไกลสุดตา
ฝึกค้นคว้า อย่าเที่ยว เสียวเสียคน

     ยาเสพติด ผิดหนัก จักต้องห่าง
เป็นตัวสร้าง ทางชั่ว ตัวสับสน
กายและใจ ไปสมอง ต้องอับจน
ทั้งทุกข์ทน หม่นจิต คิดเสียดาย
     เพราะเสพยา พาแย่ แก่เร็วนัก
ชะตาหัก จักท้อ รอสลาย
ชีวิตยับ ทรัพย์สิ้น กินร่างกาย
จนอาจตาย พ่ายหมด ชดใช้กรรม

     หยุดสังคม ก้มหน้า พาเกินกู่
ต้องฟังครู ดูไว้ ไม่ถลำ
ชอบหลบหลัง นั่งหลับ กลับไม่จำ
การบ้านทำ นำส่ง ตรงเวลา

     เร่งเขียนอ่าน การฟัง ทั้งท่องสูตร
ฝึกการพูด ทูตดี มีภาษา
ท่องศัพท์ไว้ ให้ฟิต ติดตรึงตรา
เก่งวาจา พาเจ้า เข้าสังคม

     สุข-ดี-เก่ง เร่งใจ ได้เกิดศรี
รู้รักดี มีชัย ไม่โดดร่ม
รู้เหตุผล คนรัก จักชื่นชม
รู้อารมณ์ ข่มใจ ไม่พึ่งยา

     เรียนสายวิทย์ฯ คณิต ประสิทธิ์ศาสตร์
ให้ฉลาด ปราดเปรื่อง เรื่องศึกษา
แพทย์ก็ติด วิศวะ จะตามมา
จะก้าวหน้า พาสู่ ประตูทอง

     คำนวณมาก ยากไป ไม่อยากสอบ
เรียนสิ่งชอบ ตอบใจ ไม่หม่นหมอง
ตั้งใจเรียน เพียรไว้ ให้ช่ำชอง
น่ายกย่อง ต้องใฝ่ ไปคิดค้น

     ถ้าชอบหลาย สายศิลป์ ยินดีนัก
จะรู้จัก หลักคิด ประสิทธิ์ผล
มาประยุกต์ สุขดี ที่ตัวตน
งานมากล้น หนทาง สร้างชีวา

     ส่วนสายช่าง สร้างซ่อม พร้อมหลายด้าน
หากเชี่ยวชาญ งานดี มีคุณค่า
อุตสาหกรรม นำรัฐ พัฒนา
ทุกสาขา อาชีพ รีบจับจอง

     อย่าเร่งรีบ จีบแฟน แม้นเลิศหรู
ยังเรียนอยู่ รู้ไหม อย่าไปข้อง
ความรู้เรา เข้าฝัก จักเรืองรอง
เป็นขุมทอง กองใหญ่ ให้จดจำ

     หากร้อนรน ล้นรัก มักฟุ้งซ่าน
อาจซมซาน อ่านเขียน เจียนตกต่ำ
ชีวิตใส วัยเยาว์ เจ้าจะช้ำ
ล้มคะมำ คว่ำลง คงเลวร้าย

     รักสะดุด หลุดล่วง บ่วงตัณหา
ต้องโศกา อาดูลย์ สูญสลาย
จิตกระเจิง เพลิงเผา เศร้ามิคลาย
ทุกข์ถึงกาย ผ่ายผอม เพราะตรอมตรม

     แต่ถ้าใจ ใฝ่หลง พะวงหา
ร้อนอุรา อย่าปล่อย ค่อยฝืนข่ม
ยังต้องเรียน เขียนอ่าน อีกนานนม
รู้อารมณ์ บ่งเพาะ เกราะคุ้นกัน
     หักห้ามใจ ไม่คิด จิตลุ่มหลง
อย่าปักธง ลงรัก ฝักใฝ่ฝัน
อย่ารักตอบ มอบใจ ไปโดยพลัน
จงมุ่งมั่น ขยันเรียน เพียรวิชา

     เป็นนักเรียน เพียรไว้ ให้จงหนัก
ส่วนเรื่องรัก มักยุ่ง อย่ามุ่งหา
เรียนไว้เถิด เกิดผล คนศรัทธา
มีวิชา ค่าล้ำ ค้ำชีวิต

     รักไม่ยุ่ง มุ่งเรียน เพียรใจสู้
ตระหนักรู้ สู่ทาง สว่างจิต
รักลุ่มหลง คงยุ่ง มุ่งแต่คิด
รักมีสิทธิ ผิดซ้ำ ทำพลาดพลั้ง

     เพราะร่างกาย ชายหญิง มีสิ่งเหม็น
จิตแฝงเร้น เป็นร้าย คลายสิ่งหวัง
สวยเพียงนอก หลอกใจ ไม่จีรัง
อนิจจัง สังขาร นานโรยรา

     มีหลายคู่ อยู่ชิด คิดแล้วเบื่อ
กับถุงเนื้อ เจือแป้ง แต่งใบหน้า
เมื่อรักจาง หมางหม่น จนเฉื่อยชา
อนิจจา ว่ารัก หักห้ามใจ"

ประพันธ์โดยนายวัลลภ มากมี โดยปรับปรุงจากกลอนแปดของเดิม (ด้านล่างนี้) แก้ไขใหม่ให้เป็นกลอนแปดสุภาพเมื่อวันพุธที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
                             รูปภาพ e-learning
ประพันธ์โดยนายวัลลภ  มากมี
กลอนสี่บทด้านท้ายประพันธ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ สมัยเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ (ไทย-เยอรมัน)

กลอนแปดธรรมดา (ของเดิม)
กลอนสอนใจ วัยเรียน
หมายเหตุ  ผู้เขียนยังไม่ลบออกเพราะผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องวรรณยุกต์ให้ลองกดดูตาม Link ของกลอนแปดสุภาพสอนศิษย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ ผู้เขียนจึงได้ทำเครื่องหมายโดยขีดเส้นใต้ของคำที่ผิดเสียงวรรณยุกต์ ดังต่อไปนี้
     "รู้อะไร ไม่สู้ รู้วิชา
เสริมคุณค่า อาชีพ รีบขวนขวาย
เมื่อเติบใหญ่ ได้รับ นับสบาย
มิอดตาย ได้ภูมิ มาคุ้มกัน
     ต้องฝึกเขียน เรียนไว้ ให้รอบรู้
เปิดประตู สู่โลก โชคอนันต์
ความสำเร็จ เสร็จได้ ไปถึงฝัน
ต้องมุ่งมั่น ขันแข่ง แหล่งวิชา
    ความรู้นั้น นั่นหรือ คือประทีป
สู่อาชีพ สิบร้อย คอยเบื้องหน้า
แสงสว่าง ทางใส ไปเสียดฟ้า
ฝึกค้นคว้า อย่าเที่ยว เสียวเสียคน
    ยาเสพติด ผิดหนัก จักต้องห่าง
เป็นตัวสร้าง ทางชั่ว ตัวอับจน
กายและใจ ไปสมอง ต้องสับสน
ต้องทุกข์ทน หม่นจิต คิดเสียดาย
     เพราะเสพยา พาแย่ แก่เร็วนัก
ชีวิตมัก หักงอ รอวันตาย
ชีวิตยับ ทรัพย์สิ้น กินร่างกาย

ล่มสลาย พ่ายหมด ชดใช้กรรม
     หยุดสังคม ก้มหน้า ฆ่าความรู้
ต้องฟังครู ดูทวน ควรจดจำ
อย่าเล่นเกม เปรมหนัก มักถลำ
การบ้านทำ นำส่ง ตรงเวลา
     เร่งเขียนอ่าน การฟัง ทั้งท่องสูตร
ฝึกการพูด ทูตดี ที่วาจา
ท่องศัพท์ไว้ ให้มาก หลากเลอค่า
เก่งภาษา พาเรา เข้าสังคม
     สุข-ดี-เก่ง เร่งใจ ใฝ่รักดี
นำวิถี ชีวิต จิตนิยม
รู้เหตุผล คนรัก จักชื่นชม
รู้อารมณ์ ข่มใจ ไม่พึ่งยา
     เรียนสายวิทย์ฯ คณิต ประสิทธิ์ศาสตร์
ให้ฉลาด ปราดเปรื่อง เรืองวิชา
แพทย์ก็ติด วิศวะ จะควรค่า
จะก้าวหน้า พาสู่ ผู้ยกย่อง
     คำนวณมาก ยากไป ไม่อยากสอบ
เรียนสิ่งชอบ ตอบใจ ให้ตรึกตรอง
ตั้งใจเรียน เพียรไว้ ไม่หม่นหมอง
อยากช่ำชอง ลองใฝ่ ให้คิดค้น
     ถ้าชอบหลาย สายศิลป์ ยินดีนัก
จะรู้จัก หลักคิด ชีวิตคน
มาประยุกต์ สุขดี ที่ตัวตน
งานมากล้น หนทาง สร้างชีวา
     ส่วนสายช่าง สร้างซ่อม พร้อมทำงาน
หากเชี่ยวชาญ งานดี มีเงินตรา
อุตสาหกรรม นำรัฐ พัฒนา
ทุกสาขา อาชีพ รีบจับจอง

     อย่าเร่งรีบ จีบแฟน แทนความรู้
จะนำสู่ ผู้ด้อย คอยไตร่ตรอง
ความรู้เรา เข้าฝัก จักเรืองรอง
เป็นขุมทอง กองใหญ่ ให้จดจำ
     หากร้อนรน ล้นรัก มักเสียการ
อาจซมซาน อ่านเขียน เจียนตกต่ำ
ชีวิตใส วัยเยาว์ เข้าถลำ
อาจชอกช้ำ ย้ำคิด จิตแหนงหน่าย
     รักสะดุด หลุดร่วง บ่วงตัณหา
ต้องโศกา อาดูลย์ สูญสลาย
จิตกระเจิง เพลิงเผา เศร้ามิคลาย
ทุกข์ถึงกาย ผ่ายผอม เพราะตรอมตรม
     แต่ถ้าใจ ไขว้เขว เหหารัก

ต้องรู้จัก พักหยุด ฉุดอารมณ์
ยังต้องเรียน เขียนอ่าน อีกนานนม
ฝึกการข่ม บ่มเพาะ เกราะคุ้มกัน
     หักห้ามใจ ไม่คิด จิตลุ่มหลง
อย่าปักธง ลงรัก ฝักใฝ่ฝัน
อย่ารักตอบ มอบใจ ไปโดยพลัน
ใจต้องมั่น ขยันเรียน เพียรวิชา    
     เป็นนักเรียน เพียรไว้ ให้จงหนัก
ส่วนเรื่องรัก มักยุ่ง อย่ามุ่งหา
เรียนไว้เถิด เกิดผล คนศรัทธา
มีวิชา ค่าล้ำ ค้ำชีวิต   
     รักไม่ยุ่ง มุ่งเรียน เพียรใฝ่รู้
เพื่อกอบกู้ สู่ทาง สว่างจิต
รักดึงใจ ให้เขว เร่ตามติด
รักมีสิทธิ ผิดซ้ำ ทำพลาดพลั้ง 
     เพราะร่างกาย ชายหญิง มีสิ่งเหม็น
จิตแฝงเร้น เป็นร้าย ไว้น่าชัง
สวยเพียงนอก หลอกช้ำ ทำผิดหวัง
อนิจจัง สังขาร นานโรยรา
     หากเราได้ ใกล้ชิด จะคิดเบื่อ
ที่เหม็นเหงื่อ เหลือหลาย ในกายยา
เมื่อรักจาง หมางหม่น จนเฉื่อยชา
อนิจจา ว่ารัก หักห้ามใจ"
ประพันธ์โดยนายวัลลภ  มากมี
กลอนสี่บทด้านท้ายประพันธ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ สมัยเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ (ไทย-เยอรมัน)
        





การเพิ่มความจำ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก บ้านสุขภาพ 10 วิธีทำ memory (เมมโมรี-ความจำ) ให้ดี โดย นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง
http://www.oknation.net/blog/health2you/2009/06/06/entry-1
     นิตยสาร AARP  ตีพิมพ์เรื่องวิธีทำให้ความจำดี 10 วิธี คือ
1. Exercise = ออกแรง-ออกกำลัง
     คนที่ออกแรง-ออกกำลังอย่างหนักเป็นประจำมีแนวโน้มจะมีสมรรถภาพสมองดีไปจนถึงวัย 70s-80s = 70-89 ปี
     การศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุ 65 ปีขึ้นไป 1,740 คน ติดตามไป 6 ปี (Annals of Internal Medicine in 2006) พบว่า คนที่ออกกำลังลดเสี่ยงสมองเสื่อม (ดังภาพ)
กลไกที่การออกแรง-ออกกำลังทำให้สมองดีคือ
     1) ทำให้ปอดดี > ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดดี
     2) ลดเสี่ยงโรคที่ทำลายสมรรถภาพสมองได้แก่ เบาหวาน, ไขมันในเลือด(โคเลสเตอรอล)สูง, ความดันเลือดสูง, สโตรค (Stroke = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต)
     3) เพิ่มจุดเชื่อมต่อ (connections / synapses) ระหว่างเซลล์สมอง และเสริมการทำงานของสารสื่อประสาท (neurotransmitters)
     4) อาจเพิ่มปริมาตรสมอง
     การศึกษารายงานหนึ่ง ทำในกลุ่มตัวอย่างสุขภาพดี อายุ 60-79 ปี 59 คน ให้ออกกำลังแบบคาร์ดิโอหรือแอโรบิค เช่น วิ่ง เดินเร็ว ขึ้นลงบันได ฯลฯ หรือยืดเส้น และออกกำลังต้านต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก ติดตามไป 6 เดือน
     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังแบบแอโรบิคเป็นประจำมีปริมาณสมองเพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มที่ออกกำลังแบบยืดเส้น หรือต้านแรงไม่ได้ผลดีนี้
     การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า การออกกำลังเพิ่มระดับสาร "น้ำเลี้ยง" เซลล์สมอง (neurotropins) ซึ่งช่วยให้อาหารเซลล์สมอง และป้องกันอันตรายเซลล์สมอง เช่น ป้องกันอันตรายจากภาวะสมองขาดเลือด การบาดเจ็บ ฯลฯ
     การศึกษาหนึ่ง (MacArthur aging study) พบว่า คนที่ "แอคทีฟ (active)" หรือออกแรง-ออกกำลัง ทำโน่นทำนี่ทั้งวัน (ใช้แรงด้วย ไม่ใช่นั่งทำงานอย่างเดียว) มีสมรรถภาพสมองดีแม้จะมีอายุมากขึ้น
     การศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคส เวสเทิร์น รีเสิร์ฟ (Case Western Reserve U) พบว่า คนที่ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ เช่น ทำสวน เดิน ฯลฯ มากๆ ลดเสี่ยงสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้
     สถาบันหัวใจ-ปอด-เลือดแห่งชาติสหรัฐฯ (NHLBI) แนะนำให้ออกกำลังแรงปานกลาง 30 นาทีให้ได้ทุกวัน หรือเกือบทุกวัน และเสริมโอกาสออกแรงไปเช่น เดินแทนขับรถ เดินเร็ว (brisk walk) บ่อยๆ ถ้าชวนกันเดินเป็นกลุ่มได้ยิ่งดี ขึ้นลงบันไดแทนการขึ้นลงลิฟต์ ออกกำลังที่บ้าน เช่น ซื้อวิดีโอออกกำลังรูปแบบต่างๆ มาแล้วฝึกไปด้วย ฯลฯ ทำสวน ปลูกต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ เข้าชั้นเรียน (class) ออกกำลัง หรือกิจกรรมสุขภาพ เช่น ไทเกก-ไทชิ รำกระบองชีวจิต ฯลฯ เล่นกีฬา เช่น ว่ายน้ำ เทนนิส ฯลฯ
2. keep learning = เรียนรู้ตลอดชีวิต
     การศึกษาแมคอาร์เตอร์ (MacArthur study) พบว่า คนสูงอายุที่มีสมองดีมีการศึกษาสูง กลไกที่เป็นไปได้ คือ คนที่มีการศึกษาสูงมี "วินัย" ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตมากกว่า
     กิจกรรมพัฒนาสมองที่ดีมีมากมาย เช่น เล่นเกมส์ปริศนาอักษารไขว้ อ่านหนังสือ อ่านบล็อก เล่นหมากรุก เข้าชั้นเรียนเพื่อเรียนเรื่องใหม่ๆ ชมสารคดี ฯลฯ
     วิธีหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นสมองได้ดี คือ การหาลูกบอลขนาดเล็กมาบีบ-คลายสลับกันบ่อยๆ และฝึกเดินเร็วไปด้วยบีบ-คลายลูกบอลไปด้วย การหาลูกบาสเกตบอลมาฝึกโยนเข้าห่วง หรือโยนเด้งฝาผนังก็ฝึกสมองได้ดีเช่นกัน
     การฝึกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ การฝึกทำอาหารสูตรใหม่ การเขียนบล็อก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องต่างๆ เล่นดนตรี วาดภาพมีส่วนช่วยกระตุ้นพัฒนาการสมองได้
     เรื่องที่สนใจ... ควรเป็นเรื่องวิชาการ หรือสร้างสรรค์ ไม่ใช่จับกลุ่มนินทาคนอื่น หรือวิจารณ์การเมือง เนื่องจากการมองโลกแง่ร้ายเพิ่มเสี่ยงซึมเศร้า ซึ่งจะทำให้สมรรถภาพสมองแย่ลง
     เรื่องสำคัญ คือ ถ้าดู TV ควรฝึกทำกิจกรรมเบาๆ ไปด้วย เช่น ถีบจักรยานอยู่กับที่ไปดูไป นั่งเก้าอี้-เหยียดขาไปข้างหน้า แกว่งขาเบาๆ ฯลฯ
3. Don't smoke = ไม่สูบบุหรี่
     การสูบบหรี่ทำให้สมรรถภาพสมองและความจำต่ำลง เพิ่มเสี่ยงสโตรค(กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน) ความดันเลือดสูง
     การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนที่เลิกสูบบุหรี่มีสมองเสื่อมลงช้ากว่าคนที่สูบบุหรี่ต่อไปเรื่อยๆ
4 . Drink alcohol only in moderation = ไม่ดื่ม(แอลกอฮอล์)หนัก
     การดื่มหนักเพิ่มเสี่ยงสมองเสื่อม เซลล์ประสาทเสียหาย และกลุ่มอาการคอร์ซาคอฟฟ์ (Korsakoff's syndrome) ซึ่งทำให้ความจำเสื่อมทันที และเสื่อมถาวร [ Korsakoff's ]
     การดื่มหนักเพิ่มเสี่ยงความดันเลือดสูง โรคจิตหวาดระแวง การทะเลาะวิวาท อุบัติเหตุ และภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้สมองเสื่อมถาวรได้ถ้าไม่ได้รับน้ำตาลชดเชยเร็วพอ (ส่วนใหญ่ต้องให้ภายใน 90 นาทีจึงจะช่วยสมองได้ทัน)
5. Maintain a healthy diet = กินอาหารสุขภาพ
     อาหารสุขภาพสำหรับสมองได้แก่ ผลไม้ทั้งผล (น้ำผลไม้ปั่นรวมใช้ได้ ไม่ควรเป็นน้ำผลไม้กรองกาก
เนื่องจากทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นเร็วมาก) ปลาทะเล โดยเฉพาะปลาที่ไม่ผ่านการทอด ถั่วเปลือกแข็ง (nuts) เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท (เติมรำ) ถึงแม้ผลไม้ทั้งผลจะดีกับสุขภาพ ทว่า... ไม่ควรกินคราวละมากเกิน คือไม่เกิน 2-3 ฝ่ามือ ไม่รวมนิ้วมือสำหรับคนที่ไม่เป็นเบาหวาน (คิดความหนาผลไม้ = ข้อปลายนิ้วก้อย) ไม่ควร 1/2-1 ฝ่ามือถ้าเป็นเบาหวาน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดสมองเสื่อมเร็ว ถ้าชอบผลไม้มากจริงๆ... การแบ่งกินหลายๆ มื้อ มื้อละไม่มากนักดีกับสุขภาพมากกว่าการกินรวดเดียวมากๆ และควรเดิน-ขึ้นลงบันไดระหว่างมื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อดูดซับน้ำตาลไปใช้
     การกินผักผลไม้ให้ได้วันละหลายๆ สี และกินพร้อมอาหารไขมันต่ำ เช่น สลัด ฯลฯ เนื่องจากสารอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และสารพฤกษเคมี (สารคุณค่าพืชผัก) ส่วนหนึ่งละลายในน้ำมันได้ดี แต่ละลายในน้ำได้ไม่ดี
     การดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายส่วนหนึ่งใช้น้ำเป็นตัวพาหรือพาหะ (carrier), อีกส่วนหนึ่งใช้น้ำมัน การกินอาหารไขมันต่ำมักจะดีกับสุขภาพมากกว่าการกินอาหารที่ไม่มีไขมันเลย
     ควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบมากในกะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม นมไขมันเต็ม (เช่น นมจืด ฯลฯ ควรกินนมไขมันต่ำ นมไม่มีไขมัน หรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมแทนตั้งแต่อายุ 2 ปีขึ้นไป) เนื้อ (การกินเนื้อมากเกินทำให้ได้รับไขมันแฝงมากขึ้นไปด้วย) หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์
     ควรหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ ซึ่งพบมากในเบเกอรี ขนมกรุบกรอบ อาหารสำเร็จรูป ฟาสต์ฟูด
     การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนเรามีโรคหลอดเลือดสมองตีบตันขนาดเล็ก (silent stroke) มากได้จนถึง 1/5 ของประชากร ซึ่งป้องกันได้ด้วยการใส่ใจสุขภาพตั้งแต่อายุ 2 ปีขึ้นไป
     การควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วน หรือถ้าอ้วนแล้วให้รีบเปลี่ยนจาก "อ้วนไม่ฟิต" เป็น "อ้วนฟิต" ลดเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง
6. Consider taking vitamins = พิจารณากินวิตามิน
     คนสูงอายุ คนที่ไม่กินเนื้อ นม หรือไข่ ควรพิจารณากินวิตามินรวมชนิดที่มีวิตามิน B6, B12, กรดโฟลิค (folic acid) เพื่อช่วยลดระดับสารโฮโมซิสเทอีน (homocysteine) ซึ่งมีพิษต่อหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเสื่อมเร็ว
     ควรกินอาหารที่มีวิตามิน E จากธรรมชาติ ซึ่งพบมากในข้าวกล้อง น้ำมันพืช (ที่ดีคือ น้ำมันรำข้าว ผสมน้ำมันถั่วเหลืองไปเล็กน้อย) ผักใบเขียว (สีเข้มดีกว่าสีจาง)
     กลไกที่เป็นไปได้ คือ อาหารธรรมชาติที่มีวิตามิน E สูงช่วยป้องกันภาวะเลือดแข็งตัวง่าย ซึ่งเพิ่มเสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน
     การดื่มน้ำให้พอทุกวันช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งเพิ่มเสี่ยงหลอดเลือดสมองอุดตัน วิธีสังเกต คือ ให้ดูจากความถี่ของการปัสสาวะ... ถ้าปัสสาวะเกิน 1 ครั้ง/ชั่วโมง น่าจะดื่มน้ำมากเกินไป ตรงกันข้ามถ้าปัสสาวะน้อยกว่า 1 ครั้ง/2 ชั่วโมง น่าจะดื่มน้ำน้อยเกินไป
7. Get a good night's sleep = นอนให้พอ
     การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนส่วนใหญ่ต้องการเวลานอนไม่เท่ากัน โดยจะอยู่ในช่วงคืนละ 6-8 ชั่วโมง
     คุณภาพของการนอนจะดีขึ้นถ้าทำดังต่อไปนี้
     1) เข้านอน-ตื่นตรงเวลา
     2) ออกแรง-ออกกำลังอย่างหนักช่วงกลางวัน (เฉพาะคนที่แข็งแรงมากอาจจะออกกำลังใกล้เวลานอนได้ โดยไม่รบกวนการนอน)
     3) หลีกเลี่ยงกาแฟ และอาหารอื่นที่มีกาเฟอีนหลังช่วงสายๆ (midmorning) เช่น ชอคโกแล็ต น้ำอัดลมชนิดน้ำดำ (กลุ่มโคล่า), เครื่องดื่มบำรุงกำลัง, โกโก้, ชา ฯลฯ
     4) หลีกเลี่ยงการนอนกลางวันนานเกิน 15-20 นาที
     5) ไม่ใช้ยานอนหลับเป็นประจำ ยกเว้นหมอแนะนำ เนื่องจากอาจทำให้ติดยา หรือความจำเสื่อมชั่วคราวได้
     6) การดื่มนมไขมันต่ำ นมไม่มีไขมัน หรือนมถั่วเหลืองอุ่น 1/2 แก้วอาจช่วยให้หลับได้ดีขึ้น กลไกอาจเป็นจากอาหารเหล่านี้มีน้ำตาลพอประมาณ หรือจากโปรตีน (tryptophan) ซึ่งช่วยให้สมองสร้างสารช่วยนอนหลับ (serotonin) ได้ดีขึ้น
     7) ถ้านอนไม่หลับจริงๆ... การลุกขึ้นมาหาอะไรผ่อนคลายประมาณ 20 นาที เช่น สวดมนต์ ฟังเพลง ฝึกหายใจช้าๆ ฯลฯ น่าจะดีกว่าการนอนต่อไปเรื่อยๆ
     8) ปรึกษาหมอใกล้บ้านถ้านอนไม่หลับติดต่อกันเกิน 2 วัน... คนส่วนใหญ่มีประสบการณ์นอนไม่หลับเป็นครั้งคราว การใช้ยาช่วย (ชั่วคราว) น่าจะดี
8. Be social = เข้าสังคมบ้าง
     การศึกษาแมคอาเตอร์ (MacArthur study) สนับสนุนว่า การเข้าสังคมพอประมาณช่วยให้สมองดีขึ้น
     การศึกษาในปี 2550 ทำในกลุ่มตัวอย่าง 3,610 คน อายุ 24-96 ปีพบว่า คนทุกกลุ่มอายุมีสมรรถภาพสมองดีขึ้นถ้าเข้าสังคมพอประมาณ
     การศึกษาอีกรายงานหนึ่งพบว่า การเข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (group discussion) คราวละ 10 นาทีเพิ่มสมรรถภาพสมอได้ดีกว่าการอ่านหนังสือ หรือเล่นเกมส์ปริศนาอักษรไขว้คนเดียว
     กลไกที่เป็นไปได้ คือ การเข้าสังคมพอประมาณกระตุ้นสมองหลายส่วนในเวลาใกล้เคียงกัน และช่วยลดความเครียดจากการอยู่คนเดียวนานๆ
9. Manage stress = ควบคุมความเครียด
     ความเครียดพอประมาณ (ปานกลาง) เพิ่มสมรรถภาพสมอง คือ น้อยไปก็เฉื่อย มากไปก็ช้ำ... การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ความเครียดมากเกินติดต่อกันหลายสัปดาห์ทำให้สมองส่วนฮิปโปแคมพัส
(hippocampus; hippo = ม้า; campus = สัตว์ประหลาด; โปรดสังเกตว่า ชื่อคล้ายฮิปโปโปเตมัส; ฮิปโป = ม้า; โปเตมัส = น้ำ) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบความจำเสื่อมสภาพได้ [ hippocampus ]
     การศึกษาแมคอาเตอร์พบว่า คนที่อยู่แบบ "พอเพียง" และ "ชอบทำอะไรด้วยตนเอง (self-efficacy / mastery)" เป็นกลุ่มที่มีความจำดีที่สุดในวัยสูงอายุ
     ตรงกันข้ามคนที่มีชีวิตแบบ "รู้สึกสิ้นหวัง (feeling of hopelessness)" เป็นประจำมีแนวโน้มจะมีความเครียดสูง และสมองไม่ดี
     ไม่มีสูตรสำเร็จประเภท "สูตรเดียวครอบจักรวาล (one-size-fits-all)" ในเรื่องการลดความเครียด
ทว่า... การเดินเร็ว (brisk walk) 10 นาทีทันทีที่รู้สึกเครียด เหงา เศร้า ซึม หรือเซงช่วยได้ การออกแรง-ออกกำลัง, ฟังเพลง, ฝึกสมาธิ (ควรฝึกในสำนักที่ไม่เน้นการบริจาค และเจ้าสำนักไม่โลภมากเป็นหลัก), การคบเพื่อนดี, การเข้าร่วมกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น มวยจีน, ไทเกก-ไทชิ, รำกระบองชีวจิต, โยคะ, ทำสวน ฯลฯ ช่วยได้ การปรึกษาหมอใกล้บ้านหรือนักจิตวิทยาถ้ามีความเครียดมากเกินน่าจะดี เวลาไปให้ตอบคำถามตามที่หมอ หรือนักจิตวิทยาถาม อย่าบ่นไปเรื่อย เพราะจะทำให้หมอสับสน และคนไข้ท่านอื่นเสียเวลา
10. Protect your brain from impacts and toxins = ป้องกันสมองจากการกระทบกระแทกและสารพิษ
     การป้องกันการกระทบกระแทกสมองที่สำคัญ คือ ไม่ดื่มหนัก, "เมาไม่ขับ", "ง่วงไม่ขับ", ไม่ขับรถเร็ว และหลีกเลี่ยงกีฬาประเภทปะทะ (contact sports) เช่น มวยสากล ฯลฯ
     อุบัติเหตจราจรเป็นสาเหตุของการกระทบกระแทกสมองที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งการสวมเข็มขัดนิรภัยถ้านั่งรถยนต์ หรือสวมหมวกกันน็อคถ้าขี่จักรยาน-มอเตอร์ไซค์ช่วยได้มาก
     การสวมยางช่วยลดแรงกระแทกได้ถ้าเล่นกีฬาประเภทปะทะ
     สารพิษที่ทำลายสมองได้แก่ แอลกอฮอล์, สีทาบ้าน, สารละลายหลายชนิด (เช่น กาว ฯลฯ) ยาฆ่าแมลง, ตะกั่ว (พบมากในสีทาบ้าน หม้อก๋วยเตี๋ยว หม้อน้ำซุป อาหารนอกบ้าน ตู้แช่น้ำดื่ม - การศึกษาในปี 2550-2551 พบว่า หม้อก๋วยเตี๋ยวในไทย 80% บัดกรีด้วยสารตะกั่ว)
     อลูมิเนียมในยาทารักแร้-สารส้ม, โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ฯลฯ ในหนังสือพิมพ์และสีพิมพ์มีพิษต่อสมอง... การล้างมือด้วยสบู่ก่อนกินอาหารหรือดื่มน้ำช่วยลดเสี่ยงได้
     การอ่านหนังสือพิมพ์และข่าวสารดีๆ ทางอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์ที่ดี บล็อกดีๆ ฯลฯ แทนการซื้อหนังสือพิมพ์ช่วยลดการสัมผัสสารตะกั่ว
     อาหารมัน เช่น กล้วยทอด ฯลฯ ที่ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์เพิ่มเสี่ยงสมองเสื่อม เนื่องจากเพิ่มการละลายตะกั่วและโลหะหนักได้มากเป็นพิเศษ
     พยาธิตัวตืด โดยเฉพาะตืดหมู พบมากในผักสดที่ปนเปื้อนอุจจาระ หรือเนื้อดิบ-หมูดิบ (พบมากทางภาคเหนือ) และภาวะไข้สูงในเด็ก เพิ่มเสี่ยงโรคลมชัก ซึ่งทำให้สมองเสื่อม
     การนั่งทำงานนานๆ (เกิน 4 ชั่วโมง), การเดินทางไกล, ภาวะขาดน้ำเพิ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดดำอุดตัน ซึ่งเพิ่มเสี่ยงลิ่มเลือดลอยไปในกระแสเลือด อุดหลอดเลือดปอด หรือสมองได้
     การศึกษาในปี 2547 พบว่า คนวัย 70-89 ปีที่ทำกิจกรรม 6 อย่างมากได้แก่ อ่าน, เขียน, เล่นเกมส์ปริศนาอักษรไขว้, เล่นเกมส์ เช่น ปาเป้า ไพ่ (ไม่ควรเล่นการพนัน) ฯลฯ, เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ไม่ใช่กลุ่มนินทา กลุ่มคนขี้บ่น หรือมองโลกในแง่ร้าย), เล่นดนตรี มีสมองดีกว่าคนที่ไม่ทำกิจกรรมดังกล่าว

5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12 ธันวาคม 2555 เวลา 22:00

    ลูกหลานควรจำ

    ตอบลบ
  2. ... .. ...
    รักร้อนลุ่ม สุมทรวง ดุจบ่วงไฟ
    แผดเผาใจ ไหม้ดับ กับชีวา
    เมื่อหมกมุ่น ลุ้นรัก มักโศกา
    ต้องตัณหา พาเรา เข้าเวียนวน
    ... .. ... ฯลฯ

    จากกลอนแปด กลอนสอนใจ วัยรุ่น http://vallop-magmee.blogspot.com/2012/05/blog-post_7808.html

    ตอบลบ
  3. เสพยา-พาแย่-แก่ไว-ตายก่อน-นอนคุก, Just say no drugs. รักได้-ไม่หลง

    ตอบลบ
  4. อยากให้มีบอกว่าใครคือผู้เขียน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ประพันธ์โดยนายวัลลภ มากมี โดยปรับปรุงจากกลอนแปดของเดิม (ด้านล่างนี้) ประพันธ์ไว้เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ แก้ไขใหม่ให้เป็นกลอนแปดสุภาพเมื่อวันพุธที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

      ลบ