กลอนแปด
“ยอดกษัตริย์พัฒนาปรีชาล้ำ พระองค์ทำนำร่องต้องศึกษา พระราชทานงานใหญ่ให้ประชา เกิดคุณค่าฟ้ารู้สู่ผืนดิน ธ ทรงโครงการพระราชดำริ ราชปิติวิวัฒน์จัดเพิ่มสิน มอบประชามาไว้ให้ทำกิน ไทยทั่วถิ่นยินดีมีสุขล้น ..... ร่วมใจพร้อมน้อมนำคำพ่อสอน ทุกขั้นตอนย้อนคิดประสิทธิ์ผล ประเสริฐหนอพ่อครูภูมิพล ทั่วโลกยลสนงานการอุทิศ ผองชาวไทยใจภักดิ์รักพ่อหลวง หลอมทุกดวงปวงไทยได้เพ่งพิศ เทิดพระองค์จงรักประจักษ์จิต ธ สถิตจิตใจไทยนิรันดร์”
ขอต้อนรับสู่กลอนแปด ของครูวัลลภ มากมี
บทกลอนทั้งหมดนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม) ไม่อนุญาตให้นำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่แอบแฝงแสวงหาผลประโยชน์ ยกเว้นการลิงก์เข้าสู่เว็บบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กลอนแปด, ตัวอย่างกลอนแปด

     กลอนแปดแตกต่างจากกลอนแปดสุภาพ คลิกดู เสียงวรรณยุกต์ของกลอนแปดสุภาพ
     สำหรับเว็บบล็อก "กลอนแปด" นี้จะประกอบไปด้วยกลอนแปดสุภาพ  หัวข้อใหญ่ ดังต่อไปนี้
๑. กลอนแปดสุภาพ กับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม, ตัวอย่างกลอนแปด (หน้าแรกนี้)  
๒. กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรักความเข้าใจใน ๓ สถาบันหลักของชาติไทย คือ
    ๒.๑ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันชาติ ด้านมนุษยศาสตร์ ดังต่อไปนี้
          ๒.๑.๗ วันครู
          ๒.๑.๑๒ ๕ อ.
          ๒.๑.๑๓ รถติด
          ๒.๑.๑๖ รัก
     ๒.๒ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันศาสนา มีกลอนธรรมะ ดังต่อไปนี้
     ๒.๓ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังต่อไปนี้
          ๒.๓.๔ กลอนพ่อครูไทยในหลวงของปวงชน

     กลอนแปดนับเป็น "ศิลปะภาษาไทย" ผู้เขียน (นายวัลลภ มากมี ตำแหน่งครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญ เป็นครูผู้ควบคุมและเป็นครูที่ปรึกษาหลักของผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมได้เล็งเห็นว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่แต่งกลอนกันน้อยลง มีความประสงค์ที่จะช่วยอนุรักษ์ศิลปะภาษาไทย จึงได้ประพันธ์เป็นกลอนแปด (ต่อมาภายหลังได้ปรับแก้ไขเสียใหม่ให้เป็นกลอนแปดสุภาพ) ที่อธิบายประกอบผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม ผู้เขียนซึ่งเป็นครูช่างยนต์ได้เคยเรียนการแต่งกลอนแปดในวิชาภาษาไทยมา จึงนำความรู้นั้นมาประยุกต์มาหาแนวทางที่จะทำให้งานทางช่างซึ่งมีลักษณะแข็งกระด้างให้ผสมผสานด้วยความอ่อนนุ่มลงไป เกิดเป็นกลอนแปดกับการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม หรือกลอนแปดสุภาพกับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม  
     สำหรับการแต่งกลอนแปดนั้นมีวิธีการตามตัวอย่างที่ ๑ โดยมีผังกลอนแปดดังแสดงในภาพด้านล่างนี้ ซึ่งนอกจากกลอนแปดจะต้องมีการสัมผัสนอกแล้วยังควรเพิ่มความไพเราะให้กับบทกลอนด้วยการมีสัมผัสในดังแสดงในตัวอย่างที่ ๒ - ๔ การสัมผัสในกลอนแปดสุภาพของท่านครูสุนทรโวหาร (ภู่) หรือท่านสุนทรภู่ กวีเอกของโลก
     นอกจากนี้แล้วยังมีตัวอย่างกลอนแปดสุภาพของท่านอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ดังแสดงในตัวอย่างที่ ๕ ซึ่งท่านเป็นนักเขียนรางวัลซีไรต์ และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สาขาย่อยกวีนิพนธ์ ซึ่งผู้เขียนได้มีความเคารพนับถือและศรัทธาในผลงาน ความสามารถ และอุดมการณ์ของท่านเป็นอย่างมาก

     ผังกลอนแปด สัมผัสนอกที่เป็นมาตรฐาน (แบบไม่อนุโลมจุดสัมผัส)

ตัวอย่างที่ ๑ การสัมผัสนอก กลอนแปดสุภาพ เช่น
     “กลอนสุภาพ แปดคำ ประจำบ่อน  (วรรคสดับ)
อ่านสามตอน ทุกวรรค ประจักษ์แถลง  (วรรครับ)
ตอนต้นสาม ตอนสอง ลองแสดง  (วรรครอง)
ตอนสามแจ้ง สามคำ ครบจำนวน  (วรรคส่ง)
     ได้กำหนด บทกลอน ตอนสัมผัส  (วรรคสดับ)
ให้ฟาดฟัด ชัดความ ตามกระสวน (วรรครับ)
วางจังหวะ กะทำนอง ต้องกระบวน (วรรครอง) 
จึงจะชวน ฟังเสนาะ เพราะจับใจ" (วรรคส่ง)

ประพันธ์โดยท่านรองอำมาตย์เอก หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) 

ตัวอย่างที่ ๒ การสัมผัสใน กลอนแปดสุภาพ ของท่านสุนทรภู่ เช่น
     “ถึงม้วยดิน สิ้นฟ้า หาสมุทร
ไม่สิ้นสุด ความรัก สมัครสมาน
แม้นเกิดใน ใต้หล้า สุธาธาร
ขอพบพาน พิศวาส ไม่คลาดคลา
     แม้เนื้อเย็น เป็นห้วง มหรรณพ
พี่ขอพบ ศรีสวัสดิ์ เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัว ตัวพี่ เป็นภุมรา
เชยผกา โกสุม ปทุมทอง
     เจ้าเป็นถ้ำ อำไพ ขอให้พี่
เป็นราชสีห์ สมสู่ เป็นคู่สอง
จะติดตาม ทรามงวน นวลละออง
เป็นคู่ครอง พิศวาส ทุกชาติไป”

ตัวอย่างที่ ๓ การสัมผัสใน กลอนแปดสุภาพ ของท่านสุนทรภู่ เช่น
     “เมื่อเคราะห์ร้าย กายเรา ก็เท่านี้
ไม่มีที่ พสุธา จะอาศัย
ล้วนหนามเหน็บ เจ็บแสบ คับแคบใจ
เหมือนนกไร้ รังเร่ อยู่เอกา”

ตัวอย่างที่ ๔ การสัมผัสใน กลอนแปดสุภาพ ของท่านสุนทรภู่ เช่น

     “เหมือนหนุ่มหนุ่ม ลุ่มหลง พะวงสวาท
เหลือร้ายกาจ กอดจูบ รักรูปเขา
ครั้นวอดวาย ตายไป เหม็นไม่เบา
เป็นหนอนหนอง พองเน่า เสียเปล่าดาย”


     ตัวอย่างที่ ๕ กลอนแปดสุภาพของท่านอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ "กลอนครู ชู สุนทรภู่"


กลอนแปดสุภาพกับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม
หมายเหตุ ผู้เขียนเน้นสัมผัสในทุกวรรคโดยแนวการสัมผัสในได้ยึดหลักจากบทกลอนที่เป็น Idol คือ
“น้ำใส ไหลเย็น เห็นตัวปลา”
ผลงานการประพันธ์บทกลอนแปดสุภาพกับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม มีดังต่อไปนี้

อธิบายผลงาน “ECO CAM” (ลูกเบี้ยวประหยัดเชื้อเพลิง)
     ผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ปวส. ระดับประเทศ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ ณ อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๘ - ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒

หลักการทำานของ “ECO CAM” (ลูกเบี้ยวประหยัดเชื้อเพลิง) 
     “ECO CAM แจ่มจริง วิ่งประหยัด
ลูกเบี้ยวอัด จัดตาม ความประสงค์
อากาศเคล้า เข้าซ้ำ น้ำมันลง
พลันพุ่งตรง ส่งถ่าย กลายเป็นไอ
     มีลูกเบี้ยว เรียวรับ กับลิ้นหลัก
แล้วเลื่อนผลัก สลักเพลา เข้า-ออกได้
ลิ้นผันแปร แน่จริง วิ่งเลื่อนไป
แนวคิดใหม่ ใช้ดี ที่เมืองกาญจน์”

อธิบายผลงาน “เครื่องแยกอณูน้ำมันที่ลอยแขวนอยู่ในน้ำ” (Floated Oil Molecule Separator)
    ผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมนี้ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดโครงการค่ายนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ ประเภทที่ ๑ อุปกรณ์รักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี ๒๕๕๔ จัดโดยสภาวิจัยแห่งชาติ ระหว่างวันที่ ๒ - ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ อิมแพค เมืองทองธานี

     “โปรดร่วมด้วย ช่วยกัน หมั่นพิทักษ์
อนุรักษ์ จักอยู่ ดูสวยยิ่ง
ธรรมชาติ สะอาดตา น่าชมจริง
อย่าปล่อยทิ้ง สิ่งเน่า เจ้าสารพิษ
     กุ้ง-ปู-ปลา มาอยู่ คู่แหล่งน้ำ
มนุษย์นำ ทำกิน ถิ่นวิจิตร
เป็นแหล่งก่อ ต่อเติม เพิ่มชีวิต
จึงประดิษฐ์ คิดให้ ไร้น้ำมัน”

อธิบายภาพรวมของผลงาน “จักรยานหรรษา” (Jovial Bike)
     ผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมนี้ ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ การประกวดโครงการรางวัลนวัตกรรมครั้งที่ ๑๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ สาขาสร้างเสริมสุขภาพ (นวัตกรรมกีฬา-ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ) ระดับปริญญาตรี
     ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาครั้งที่ ๕ หรือ Sport Science Innovative Contest (SSIC) 2012 ประเภทประชาชนทั่วไป จัดโดยสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน กรุงเทพฯ วันที่ ๒๘ - ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
     ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ รางวัลสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี ๒๕๕๖ ด้านการศึกษา จากสภาวิจัยแห่งชาติ ในงานวันนักประดิษฐ์ รับรางวัล ณ อิมแพค เมืองทองธานี ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ผลงานนี้เป็นรางวัลใหญ่ในเวทีการประกวดที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปบริษัทหรือใครก็ได้เข้าร่วมประกวด และเป็นสถานศึกษาเดียวของอาชีวศึกษาที่ได้รับรางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติในปี ๒๕๕๖


     “ทั้งงานกลึง ถึงเลื่อย เหนื่อยพอใช้
เจียระไน ให้สวย ช่วยจับสี
เชื่อมโครงร่าง สร้างสรรค์ นั่นดูดี
รูปทรงนี้ ที่ร่าง สร้างให้ดัง
     ส่วนด้านท้าย หงายรับ จับตาจ้อง
แยกเป็นสอง ของหน้า มาถึงหลัง
ประกอบแขน แกนจับ ปรับง่ายจัง
เล่นได้ดั่ง หวังไว้ ไม่เสียการ
     ถอดมาขัด ปัดเปื้อน เหมือนเหล็กใหม่
รองพื้นไว้ ให้รับ จับประสาร
ตั้งใจพ่น จนสวย ช่วยชื่นบาน
สีทนทาน นานอยู่ ดูเลิศล้ำ
     สีสดใส ใหม่จริง ยิ่งชมชอบ
เตรียมประกอบ ครอบใส่ อย่าให้คว่ำ
โครงหน้าหลัง ตั้งวาง ต่างช่วยทำ
ร้อยเพลานำ ต่ำลง จงระวัง
     แล้ววิจัย ให้ถ่อง ต้องศึกษา
พัฒนา หาทาง อย่างที่หวัง
กลุ่มเป้าหมาย หลายคน สนใจจัง
ออกกำลัง ครั้งนี้ ดีอย่างไร
     ผู้ทดลอง ต้องดู รู้จริงก่อน
ทุกขั้นตอน สอนเล่น เป็นไฉน
เล่นแบบหนึ่ง ถึงสี่ วิธีใด
เพื่อจะให้ ได้เล่น เป็นทุกคน
     เมื่อรู้แจ้ง แบ่งข้าง ต่างลองขี่
ห้านาที ที่ลอง ต้องรู้ผล
แล้วจึงกรอก บอกตาม ความคิดตน
สิ่งควรสน ล้นค่า น่าเบิกบาน
     บ้างลองใหม่ ให้รู้ ดูอีกหน
เล่นหนึ่งคน จนเก่ง เร่งประสาน
ขึ้นซ้อนสอง ต้องดู รู้ผลงาน
สุขสำราญ ขานรับ จับเอวกัน
     ช่วยกันย่อ รอขย่ม ผสมคู่
คนอื่นดู รู้ว่า น่าสุขสันต์
มาเข้าคิว ทิวแถว แล้วแบ่งปัน
เล่นจนมัน วันนี้ ดีกว่าใคร
     จักรยานหรรษา พาสนุก
เติมความสุข ทุกผู้ ดูแจ่มใส
ทั้งแขนขา พากัน ดันออกไป
กล้ามเนื้อใน ได้เกร็ง เร่งไขมัน
     เกร็งข้อเท้า เข้าไว้ ให้ถึงน่อง
จังหวะสอง ต้องต่อ รอมือปั่น
ฝึกสมอง ต้องไว ได้เฉียบพลัน
ร่วมช่วยกัน นั่นหนา พาแล่นไป
     Jovial Bike ใช้เล่น เด่นจริงหนา
หยุดพึงพา ยาเสพติด จิตหมองไหม้
นวัตกรรม นำทาง มาสร้างไทย
คนรุ่นใหม่ ใจกล้า น่าทดลอง
     จะสนุก ถูกเงิน เพลินเมื่อเล่น
จะโดดเด่น เห็นดี ไม่มีสอง
ฝึกข้อมือ หรือไหล่ ให้ช่ำชอง
ฝึกสมอง สองเท้า เข้าร่วมรับ
     เกร็งกล้ามแขน แล่นไป ให้กระตุ้น
ล้อหน้าหมุน ลุ้นต่อ รอขยับ
ถ้าจะเลี้ยว เอี้ยวหน่อย ค่อยบังคับ
มือที่จับ สลับหัน ทันท่วงที
     ขย่มเท้า เข้าจังหวะ ไม่ละลด
จ้องจำจด กดพื้น ขึ้นลงถี่
ล้อหลังลง ตรงไหน จำให้ดี
แรงเคลื่อนที่ ชี้วัด จัดสมดุลย์
     จักรยานหรรษา น่าเล่นหลาย
ความเครียดหาย ถ่ายไป ให้ล้อหมุน
ออกกำลัง หวังให้ ได้เกิดคุณ
เลือดกระตุ้น หนุนมา พาฉับไว
     พวกกลุ่มเสี่ยง เลี่ยงยา พาผองเพื่อน
อย่าแชเชือน เตือนน้อง ลองเล่นไหม
มาเสียเหงื่อ เพื่อกาย สบายใจ
เป็นของใหม่ ใช้ดี ทวีตน
     กลุ่มทดลอง ต้องมี ยี่สิบห้า
เฉลี่ยกว่า เก้าสิบสอง มองเห็นผล
ช่วยเสริมร่าง สร้างให้ ได้อดทน
จะเลิศล้น คนมอง ไม่ต้องอาย
     อีกแปดคน ค้นหา ค่าจุปอด
เฉลี่ยยอด สามร้อยกว่า ว่าดีหลาย
จะแข็งแรง แกร่งจริง ทั้งหญิงชาย
สุขสบาย หายป่วย ช่วยชมเชย”

อธิบายประโยชน์ของผลงาน “Neo Sports Board” (แผ่นกระดานเล่นกีฬาแนวใหม่)
     ผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาครั้งที่ ๔ หรือ Sport Science Innovative Contest (SSIC) 2011 ประเภทอาชีวศึกษา จัดโดยสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน กรุงเทพฯ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
     ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ โดยไม่มีผลงานใดได้รับรางวัลสูงกว่านี้ (ไม่มีรางวัลรองชนะเลิศอันอับ ๑ และไม่มีรางวัลชนะเลิศ) เพราะกรรมการตั้งข้อสังเกตว่าคล้ายกับผลงานจักรยานหรรษา ที่เคยได้รางวัลมาแล้ว (แต่ในความเป็นจริงเป็นเครื่องกีฬาได้ ๔ ชนิด (แบบ) มีท่าเล่นรวม ๑๖ ท่าซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง) จากการประกวดโครงการรางวัลนวัตกรรมครั้งที่ ๑๑ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ สาขานวัตกรรมกีฬา-ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ระดับปริญญาตรี
     ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ประเภทที่ ๑ สิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต วันที่ ๓๐ มกราคม - ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ณ MCC Hall ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขาบางกะปิ
     ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ปวส. ระดับชาติ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ณ ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๖
เล่นแบบ Scooter กึ่ง Skate Board


เล่นแบบ Abslider

 เล่นแบบ Air Rower กึ่ง Sit-up

 เล่นแบบ Free Style
     “เทคนิคกาญจน์ งานเด่น เป็นกล่าวขาน
แผ่นกระดานเล่นกีฬาแนวใหม่
สิบหกท่า น่าเล่น เด่นโดนใจ
นักเรียนไทย ได้คิด ประดิษฐ์มา
     นอกอาคาร ด้านใน เล่นได้หมด
ควรกำหนด จดจำ ทำทุกท่า
Neo Sports Board ยอดดี สี่กีฬา
พัฒนา น่าเล่น เป็นสุขล้น
     เล่นแบบ Scooter กึ่ง Skate Board
จะเยี่ยมยอด ปอดจุ บรรลุผล
เล่นที่กว้าง ทางโค้ง โล่งรถยนต์
อวดผู้คน ยลตา มาเมียงมอง
      เล่นแบบ Abslider จะเลอเลิศ
กล้ามเนื้อเกิด เปิดเห็น เป็นจับจ้อง
ทั้งลำตัว หัวไหล่ ไปถึงท้อง
แขนทั้งสอง ต้องล่ำ ล้ำเลิศชาย
      เล่นแบบ Air Rower กึ่ง Sit-up
เอื้อมมือจับ กับแฮนด์ แสนจะง่าย
อายุมาก หากลอง ร้องสบาย
เอนเรือนกาย คลายเส้น เน้นฝึกตน
      เล่นแบบ Free Style หลายท่วงท่า
ทั้งแขน-ขา หน้าท้อง ต้องฝึกฝน
ยืน-นั่ง-นอน ผ่อนหนัก จักต้องทน
ท่าใดสน วนกลับ นับต่อไป
      เทคนิคกาญจน์ งานดี มีจัดหนัก
อัตลักษณ์ มักเน้น เป็นสิ่งใหม่
นวัตกรรม ทำมา น่าชื่นใจ
เครื่องเดียวได้ Four in One สรรค์สร้างกาย
      นอกจากนั้น ปั่นไฟ ใว้เพื่อชาร์จ
แบตฯ ไม่ขาด อาจเสริม เพิ่มไฟฉาย
มีกระพริบ วิบวับ กับไฟท้าย
สุขสบาย หลายหลาก มากกระบวน
      ทุกเพศวัย ในบ้าน ท่านเลือกเล่น
ฝึกให้เด่น เน้นไป ให้ครบถ้วน
แบ่งกันฝึก ศึกษา ท่าที่ควร
รวมแก๊งก๊วน ชวนมา พาสุขเอย”

อธิบายผลงาน ฮูล่าฮุปแบบลูกกลิ้งรุ่นที่ ๑ เรียกว่า “Rolling Hula-hoop”
     ผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ โครงการรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่ ๑๐ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ สาขาสร้างเสริมสุขภาพ (นวัตกรรมกีฬา-ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ) ระดับมัธยมศึกษา / ปวช. จัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

     “Rolling Hula-hoop ยุบพุงท่าน
ลูกกลิ้งผ่าน ด้านใน ไปหมุนปั่น
กระตุ้นเอว เซลล์กด ลดไขมัน
กลิ้งเวียนกัน สั่นกาย สลายไป
     เด็กผู้หญิง ยิ่งง่าย ส่ายเอวอ่อน
อรชร อ้อนแอ้น แสนสดใส
ชายร่างอ้วน ควรลอง ต้องชอบใจ
หญิงสูงวัย ได้ลอง ร้องชมเชย”

อธิบายผลงาน ฮูล่าฮุปแบบลูกกลิ้งรุ่นที่ ๒ เรียกว่า “นวัตกรรมฮูล่าฮุป”
     ผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ โดยเป็นรางวัลสูงสุด (ไม่มีผลงานใดได้รับรางวัลชนะเลิศ) เพราะกรรมการตั้งข้อสังเกตว่าคล้ายกับผลงานในรุ่นที่ ๑ ที่เคยได้รางวัลมาแล้ว (แต่ในความเป็นจริงการหมุนของวงหรือ Hoop แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง) โครงการรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยครั้งที่ ๑๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ สาขาสร้างเสริมสุขภาพ (นวัตกรรมกีฬา-ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ) ระดับมัธยมศึกษา / ปวช. จัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

     “นวัตกรรมฮูล่าฮุป ชุบหุ่น
ไปกระตุ้น ไขมัน นั้นให้เหลว
มีลูกกลิ้ง วิ่งหมุน กระตุ้นเซลล์
วิ่งรอบเอว นวดแทน แสนสบาย
     พื้นที่ไหน ไม่อับ จนคับแคบ
จับ Hoop แนบ แอบหลัง ตั้งท่าส่าย
แกว่งครบรอบ ชอบจริง วิ่งรอบกาย
คอยโยกย้าย ร่ายเพลง บรรเลงครวญ
     แก่และเด็ก เล็กใหญ่ ได้ทั้งหมด
ทำจ้องจด อดลอง น้องจะอ้วน
จึงขอท้า น่าลอง ต้องการดวล
แกว่งหมุนทวน สวนกลับ สับไปมา
     ส่ายเอวดี มีท่า หน้าสดใส
ยิ้มแย้มไว้ ใครเห็น เป็นอิจฉา
ฝึกเข้าไว้ ได้ลุ้น หุ่นดารา
สุดคุ้มค่า น่าเล่น เด่นจริงเอย”

อธิบายผลงาน ฮูล่าฮุปแบบลูกกลิ้งรุ่นที่ ๓ เรียกว่า “นวัตกรรมฮูล่าฮุป”
     ผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ จากการประกวดโครงการค่ายนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประเภทที่ ๒ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกภายในบ้านพักอาศัย โรงเรียน หรือชุมชน จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ อิมแพคเมืองทองธานี จ.นนทบุรี ระหว่างวันที่ ๒ - ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕


    “ฮูล่าฮุปแบบลูกกลิ้ง ยิ่งที่สาม
หุ่นจะงาม ตามมา หน้าสดศรี
สายเอวไป ใครรีบ สิบนาที
สุขทวี ดีนัก ผู้รักตน
     นวัตกรรม ล้ำเด่น เป็นของใหม่
ทำวิจัย ได้ค่า มาอีกหน
กลุ่มประชา มาช่วย ด้วยหลายคน
สรุปผล จนดี ที่กระทำ
     มีทักษะ ประดิษฐ์ คิดสิ่งของ
หลังทดลอง ต้องได้ ไม่ต้อยต่ำ
แล้วจึงเพียร เขียนห้าบท จดใจจำ
ร้อยถ้อยคำ นำเสนอ เลอเลิศเอย"

อธิบายผลงาน ฮูล่าฮุปแบบลูกกลิ้งรุ่นที่ ๔ เรียกว่า “นวัตกรรมฮูล่าฮุป”
     ผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ (จากทั้งหมด ๑๗๔ ผลงาน)จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประเภทที่ ๑ สิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับภาค ภาคกลาง วันที่ ๑๕ - ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี และผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ ประเภทที่ ๑ สิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต วันที่ ๗ - ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ MCC Hall ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขาบางกะปิ
     ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ปวส. ระดับชาติ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ณ ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๕
     ได้รับรางวัลชมเชย จากการประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาครั้งที่ ๕ Sport Science Innovative Contest (SSIC) 2012 ประเภทต้นทุนต่ำ ณ สนามกีฬาแห่งชาติ วันที่ ๒๘ - ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
     ได้รับรางวัล Special Prize จากการแสดงนิทรรศการในงานวันนักประดิษฐ์ ณ อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๒ – ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖


     “ทั้งสามรุ่น ลุ้นรับ ระดับชาติ
ได้ประกาศ รางวัล ชั้นดาวรุ่ง
มารุ่นสี่ ที่นับ แล้วปรับปรุง
เพื่อลดพุง มุ่งหมาย ไม่อายใคร
     แขนประคอง สองข้าง จะกางรับ
สปริงซับ กับการชน ค้นแก้ไข
ระบบดี ที่ทำ นำปลอดภัย
พับเก็บได้ ไว้เผื่อ เมื่อพกพา
     จะขึ้นรถ ลงเรือ ทั้งเหนือ-ใต้
ขึ้นรถไฟ ใต้ดิน บินทั่วหล้า
อยู่หนไหน ได้สุข ทุกเวลา
แสนคุ้มค่า หาใด ไหนเปรียบปาน
     จากวิธี Research & Develop
ครอบคลุมครบ จบมา ว่าสอบผ่าน
ร้อยเจ็ดสิบสี่ ที่แข่ง แย่งผลงาน
กรรมการ ท่านเห็น เป็นเอกเอย

อธิบายผลงาน ฮูล่าฮุปแบบลูกกลิ้งรุ่นที่ ๕ เรียกว่า “นวัตกรรมฮูล่าฮุป”
     ผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมนี้จะสร้างเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ออกจำหน่ายจริง โดยกำลังจัดทำแม่พิมพ์สำหรับลูกกลิ้งแบบใหม่ที่มีปุ่มนูนลักษณะตรงข้ามกับลูกกอล์ฟ ได้ออกแบบพิเศษให้ชุดสร้างแรงพยุงตัว
     “เทคนิคกาญจน์ งานนี้ มีจัดหนัก
อัตลักษณ์ มักเด่น เน้นสุขศรี
นวัตกรรมฮูล่าฮุป ชุบชีวี
เปลี่ยนวิธี ที่หมุน รุ่นทั่วไป
     เล่นกีฬา พาจิต คิดปลอดโปร่ง
กายเชื่อมโยง โล่งสมอง ต้องสดใส
อย่าพนัน ขันต่อ ขอห่างไกล
อย่างเผลอใจ ไปเสพยา พามอดม้วย
     ต้องฝึกกาย คลายเส้น เน้นคุณค่า
เอวและขา ท่าไหน ให้หุ่นสวย
พื้นที่ว่าง กางแกว่ง แหล่งอำนวย
อย่างงงวย ขวยเขิน เชินมามอง
     นวัตกรรมฮูล่าฮุป สรุปล้ำ
เพราะได้ทำ น้ำหนักถ่วง ห่วงทั้งสอง
พยุงตัว หัวท้าย ปลายประคอง
ใครแกว่งคล่อง ต้องนาน พานสบาย
      R & D สี่ครั้ง หวังเป็นเลิศ
ก่อกำเนิด เกิดผล กับคนหลาย
เพิ่มปุ่มนูน พูนรับ สัมผัสกาย
ช่วยสลาย ไขมัน ชั้นกายา
     ด้วยลูกกลิ้ง วิ่งวน จนไถถู
จะเอาอยู่ เซลลูไลต์ (Cellulite) ใต้ชั้นหนา
จึงสำเร็จ เสร็จได้ ใช้ปัญญา
นอกตำรา น่ารู้ ครูช่วยคิด
     เป็นสิ่งดี ที่ควร ชวนสรรค์สร้าง
พบแนวทาง อย่างหนึ่ง จึงประดิษฐ์
นวัตกรรม ทำได้ ไทยพิชิต
ยื่นจดสิท-ธิบัตร ชาติไทยเรา”

     “ถึงผู้อ่าน วานด้วย ช่วยกันชี้
บทความนี้ ที่ทำ นำมาสอน
อธิบาย หลายหลาก มากขั้นตอน
เป็นบทกลอน ย้อนหา ค่าของไทย
     สิ่งประดิษฐ์ คิดค้น ของคนช่าง
ลูกศิษย์สร้าง อย่างดี มีค่าไหม
ผลงานเด่น เห็นด้วย ช่วยเปิดใจ

คิดอย่างไร ให้ส่ง ลงบล็อกเลย"

กลอนเรารักในหลวง

     กลอนแปดแตกต่างจากกลอนแปดสุภาพ คลิกดู เสียงวรรณยุกต์ของกลอนแปดสุภาพ
     สำหรับเว็บบล็อก "กลอนแปด" นี้จะประกอบไปด้วยกลอนแปดสุภาพ  หัวข้อใหญ่ ดังต่อไปนี้
๑. กลอนแปดสุภาพ กับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมตัวอย่างกลอนแปด (หน้าแรกนี้)  
๒. กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรักความเข้าใจใน ๓ สถาบันหลักของชาติไทย คือ
    ๒.๑ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันชาติ ด้านมนุษยศาสตร์ ดังต่อไปนี้
          ๒.๑.๗ วันครู
          ๒.๑.๑๒ ๕ อ.
          ๒.๑.๑๓ รถติด
          ๒.๑.๑๖ รัก
     ๒.๒ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันศาสนา มีกลอนธรรมะ ดังต่อไปนี้
     ๒.๓ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังต่อไปนี้

                         รูปในหลวง
หมายเหตุ พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่แสดงอยู่นี้ ผู้เขียนได้ฉายพระรูปจากปฏิทิน (ประมาณปี ๒๕๕๐) ของธนาคารกรุงเทพ

หมายเหตุ ผู้เขียนเน้นสัมผัสในทุกวรรคโดยแนวการสัมผัสในได้ยึดหลักจากบทกลอนที่เป็น Idol คือ
“น้ำใส ไหลเย็น เห็นตัวปลา”


กลอนแปดสุภาพ  ปรับปรุงแก้ไขเสียงวรรณยุกต์ใหม่ตามหลักของกลอนแปดสุภาพ เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จากกลอนแปดธรรมดาของเดิมที่ผู้เขียนได้เริ่มประพันธ์ไว้เมื่อวันเสาร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
คลิกดูเสียงวรรณยุกต์ของกลอนแปดสุภาพ
กลอนเรารักในหลวง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
     "เราผองไทย ใจภักดิ์ รักในหลวง
พระองค์ห่วง ปวงราษฎร์ พระบาทท่าน
ทรงศึกษา หาแนว แล้วประทาน
ธ ทรงงาน นานช้า มาสู่ไทย
     อุปถัมภ์ ค้ำชู ศาสนา
พระมหา กรุณา อันยิ่งใหญ่
เสมอภาค หลากชน สนพระทัย
หลอมหัวใจ ให้อยู่ รู้พึ่งพา
     ทศพิธ ราชธรรม นำครองราชย์
ทรงเปรื่องปราชญ์ ฉลาดล้ำ ธรรมรักษา
ศูนย์รวมใจ ไทยถ้วน ล้วนศรัทธา
พระปรีชา มหาราช ของชาติไทย
     พระองค์ทำ ๓๔ โครงการหลวง
พระองค์ห่วง ปวงชน ค้นแก้ไข
ปรับเปลี่ยนแนว แล้วสร้าง อย่างเกรียงไกร
ชีวิตใหม่ ไร้ฝิ่น สิ้นเสพภัย
     พืชเมืองหนาว เข้าแทน แดนปลูกฝิ่น
แปลงผืนดิน ถิ่นเดิม เสริมสดใส
ปศุสัตว์ จัดหนุน สมุนไพร
ชาหม่อนไหม ไม้ดอก ออกเรียงราย
     ปลูกในดิน อินทรีย์ ที่ส่งเสริม
ทรงช่วยเติม เพิ่มค่า น่านำขาย
ผักปลอดสาร ทานดี ทวีกาย
ส่งจำหน่าย รายรับ นับหนุนมา
     โครงการอื่น ยืนยง คงเป็นหลัก
ต้องพร้อมพรัก จักมั่น แก้ปัญหา
แดนดินใด ไม่ดี มีบัญชา
พัฒนา ฝ่าพ้น คนชื่นชม
     ทฤษฎีใหม่ ใช้รวม ร่วมพื้นที่
เกษตรดี ชี้ชวน สวนผสม
แบ่งดิน-น้ำ ทำกิน ถิ่นอุดม
ดูรื่นรมย์ ร่มเย็น เป็นชื่นบาน
(หมายเหตุ สวนผสมแบ่งพื้นที่ปลูกข้าว-ปลูกพืช-แหล่งน้ำอย่างละ ๓๐%  ที่เหลืออีก ๑๐% ใช้สร้างบ้านพักอาศัย)
     แบ่งกันเท่า ข้าว-พืช-น้ำ ทำเกษตร
เหลือขอบเขต เศษสิบ รีบสร้างบ้าน
รู้พอเพียง เลี้ยงสัตว์ รู้จัดการ  
บริหาร งานดี มีเงินใช้
     สหประชาชาติ ประกาศว่า
๕ ธันวา วันดินโลก ยกย่องให้ (เริ่มปีดินสากล ๕ ธ.ค. ๕๘)
เป็นกษัตริย์ พัฒนา พาชาติไทย
ทรงแก้ไข ไม่ละ ประชาชน
     ปราชญ์ปฐพี ที่ทำ ได้สัมฤทธิ์
กรณียกิจ ประสิทธิ์ผล
พื้นเสื่อมโทรม ห่มดิน สิ้นความจน
ให้หลุดพ้น คนยาก จากพระทัย
     ทั้งแกล้งดิน ถิ่นกรด ไม่หมดค่า
พลิกฟื้นมา พาน้ำ นำขับไล่
ปรับเปรี้ยวจัด อัดสาร ต้านไฟไรท์ (Pyrite = FeS2)
โรยปูนใส่ ใช้เพาะปลูก ถูกวิธี
     ทรงงานมา ช้านาน ท่านไม่ท้อ
ไม่รั้งรอ ขอให้ ไทยสุขศรี
ทรงค้นคว้า สามารถ ปราชญ์นที
โครงการดี ที่พระองค์ ทรงคะเน
     คลองลัดโพธิ์ โชว์พราว คราวน้ำท่วม
เร่งน้ำรวม การไหล ให้หักเห
หลักเบี่ยงน้ำ ทำให้ ไปทะเล
เร่งถ่ายเท เวลา มามากไป  
     หลักหน่วงน้ำ ทำแก้มลิง ยิ่งประจักษ์
แหล่งเก็บกัก พักเผื่อ เมื่อหลั่งไหล
ฝนตกมาก หลากมา เมื่อคราใด
ป้องกันไว้ ไม่ท่วม อ่วมอีกครา
     ปลูกหญ้าแฝก แตกคลุม อุ้มดินซ้ำ
ชะลอน้ำ บำบัด จัดรักษา
ฟื้นฟูถิ่น สิ้นสภาพ กลับคืนมา
แก้ปัญหา พาให้ ไม่เดือดร้อน
     เลี้ยงโคนม ผสมเทียม เปี่ยมความหวัง
รวมพลัง ตั้งกลุ่ม ชุมชนก่อน
ร่วมกันทำ นำสร้าง วางขั้นตอน
สหกรณ์ หนองโพ โตมานาน
     โครงการดี มีมาก หลากเลอค่า
พัฒนา มาต่อ บริหาร
ทรงวิจัย ให้ชัด ปฏิบัติการ
พระราชทาน งานเหลือ เผื่อประชา
     สะพานพระรามแปด แสดสวยล้ำ
ข้ามแม่น้ำ ทำคู่ สู่ลอยฟ้า
คู่ขนาน ผ่านไว ได้พึ่งพา
พระเมตตา ปราณี นี้เกินพอ
     พระองค์ทำ นำร่อง ช่องทางชี้
เชื้อเพลิงดี มีค่า มาเกิดก่อ
พลังงานใส ไบโอ แก๊สโซฮอล์
เกษตรรอ ต่องาน ใช้ยานยนต์
     โครงการป่า มาดิน และถิ่นน้ำ
วิศวกรรม ดำริ ริเริ่มผล
กังหันชัยพัฒนา ค่ามากล้น
ปั่นน้ำวน ปนอากาศ ไม่ขาดปลา
     ฝนหลวงนี้ ดีจริง ยิ่งหน้าแล้ง
โปรยสารแห้ง แหล่งนำ น้ำจากฟ้า
เมฆร้อนชื้น คืนผล ฝนตกมา
เกิดคุณค่า พาน้ำ นำสู่คน
     องค์ในหลวง ห่วงนัก รักษ์แวดล้อม
โครงการพร้อม ย่อมดี มีพืชผล
ดินอุดม สมบูรณ์ พูนค่าล้น
ประชาชน พ้นภัย ให้เร่งรัด
     โครงการชลประทาน งานเกษตร
รักษ์นิเวศน์ เขตป่า อย่าไปตัด
รักษาไว้ ภัยมา เห็นค่าชัด
พ้นพิบัติ จัดทำ นำสุขล้น
     แหล่งทำกิน ถิ่นที่ มีปัญหา
พัฒนา มาใช้ ได้เกิดผล
ทำกินได้ ให้อยู่ รู้พึ่งตน
ทางหลุดพ้น คนไทย ได้ลืมตา
     เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ คิดการณ์ไว้
เก็บน้ำใช้ ให้พอ ก่อคุณค่า
ช่วยประมง ส่งน้ำ ทำไฟฟ้า
เกษตรพา หน้าใส ไม่ชอกช้ำ
     เขื่อนขุนด่านปราการชล พ้นอุทก
ถ้าฝนตก ปกป้อง ท้องที่ต่ำ
ผลิตไฟ ในเขต เกษตรกรรม
ประโยชน์ล้ำ ทำคุณ หนุนประชา
     อุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์
ที่จังหวัด กาฬสินธุ์ ถิ่นภูผา
ลอดใต้เขา เอาน้ำ ทำไร่นา
แหล่งธารา หน้าแล้ง ไม่แห้งตาย
     เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน แสนพิทักษ์
๓ เขื่อนหลัก พักน้ำ ทำคุณหลาย
น้ำหลากมา พาให้ ใช้สบาย
ทุกข์ร้อนคลาย หายเศร้า เราสุขใจ
     ประตูระบายน้ำธรณิศนฤมิต
ผลผลิต ติดต่อ ก่อพืชไร่
ลุ่มน้ำก่ำ ทำกิน ยินดีไป
เกษตรใช้ ได้ต่อ ก่อพลัง
     ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ
ชุบชีวิต จิตใจ ได้สมหวัง
ทั่วทุกกลุ่ม ลุ่มน้ำปากพนัง
ประโยชน์จัง ทั้งเกษตร เขตประมง
     อีกมากมาย หลายหลาก อยากจะกล่าว
หลายเรื่องราว ยาวยิ่ง สิ่งประสงค์
โครงการใหญ่ ได้รับ นับยืนยง
จะดำรง คงอยู่ สู่ทุกคน
     หนองคอไก่ ไร่กว้าง ต่างกล่าวขาน
พระราชทาน งานหรู สู่พืชผล
เกษตรใหม่ ไร่สวน ล้วนเลิศล้น
ต่างเยี่ยมยล บนชื่อตั้ง (บนแบรนด์ดัง) ชั่งหัวมัน
     ผักเจริญ เพลินตา พาแจ่มใส
ผลไม้ หลายอย่าง มาสร้างสรรค์
วิจัยลึก ศึกษา นานาพรรณ
อัศจรรย์ พันธุ์ไม้ ไร้เคมี
     หาผู้ใด ไหนเล่า เท่าเทียมท่าน
ธ ทรงงาน การณ์ใหญ่ ไทยสุขศรี
เป็นกษัตริย์ พัฒนา ประชาชี
บารมี ที่แผ่ แก่เขตเคียง
    โครงการดี มีมาก หากมาใช้
มุ่งทำไป ไม่ย่อ รอบ่ายเบี่ยง
ไม่ต้องเสี่ยง เลี่ยงหนี้ มีหนทาง
    ประมาณเหมาะ เพาะถูมิ คุมเหตุผล (พอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน มีเหตุผล)
พึ่งพาตน สนใจ ให้รู้สร้าง
สองเงื่อนไข ให้นำ ทำสายกลาง
รู้ปล่อยวาง ต่างออม ย่อมเพียงพอ
     ไทยน้อมนำ ทำจริง ยิ่งสมเจตน์
ทั่วประเทศ เขตคาม ตามรอยพ่อ
รู้สำนึก ศึกษา อย่ารั้งรอ
เร่งสานต่อ ก่อดี ทวีตน
     ร่วมใจพร้อม น้อมนำ คำพ่อสอน
ทุกขั้นตอน ย้อนคิด ประสิทธิ์ผล
ประเสริฐหนอ พ่อครู ภูมิพล
ทั่วโลกยล สนงาน การอุทิศ
     ผองชาวไทย ใจภักดิ์ รักพ่อหลวง
หลอมทุกดวง ปวงไทย ได้เพ่งพิศ
เทิดพระองค์ จงรัก ประจักษ์จิต
ธ สถิต จิตใจ ไทยนิรันดร์”


สวรรค์ส่งกลับมารับภูมินทร์
     "สิบสามตุลา ฟ้าสิ้น ยินข่าวร้าย
จิตสลาย หายลับ ดับผุยผง
น้ำตาไหล ไม่หยุด ทรุดกายลง
สวรรค์คง ส่งกลับ รับภูมินทร์
     ทุกคนร้อง นองน้ำตา ปีห้าเก้า
แสนโศกเศร้า เฝ้าคิด จิตถวิล
ธ คือแสง แห่งฟ้า มาสู่ดิน
ทั่วธานินทร์ ถิ่นนี้ ที่ทรงครอง
     ธ ทรงธรรม นำทาง สร้างสุขศรี
ปราชญ์นที ปรีชาล้ำ นำไทยผอง
ปราชญ์แห่งดิน ยินไกล ได้เฝ้ามอง
ทั้งโลกซ้อง สรรเสริญ ภูมิพล
     เจ็ดสิบปี ที่ครอง ผองทวยราษฎร์
ย่างพระบาท ชาติไทย ไปทุกหน
แม้เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า ฟ้ามืดมน
ทรงลุยฝน ทนร้อน มาผ่อนภัย
    ศูนย์รวมรัก ภักดี ที่ยึดมั่น
จอมราชัน สวรรคต หมดสมัย
ข้าทั้งผอง รองพระบาท ทุกชาติไป
องค์จอมไท้ ได้สถิต จิตทุกดวง
     สุดอาลัย ไทยซ้อง ร่ำร้องหา
ผองประชา ฝ่าประบาท ขาดพ่อหลวง
ขอพระองค์ ทรงกุศล ผลทั้งปวง
เสด็จสรวง สวรรค์ นิรันดร์เทอญ

ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
ขอน้อมเกล้าฯ ถวายอาลัยแด่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ธ ทรงเสด็จฯ สู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้านายวัลลภ มากมี และครอบครัว

เริ่มประพันธ์เมื่อวันเสาร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

๓๔ โครงการหลวงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
     โครงการหลวง (Royal Project) เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา เพื่อเป็นการหารายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒
๑. ศูนย์พัฒนาโครงการศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง
๒. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์
๓. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางดะ
๔. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่หลอด
๕. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง
๖. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย
๗. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก
๘. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว
๙. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่
๑๐. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย
๑๑. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง
๑๒. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก
๑๓. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ
๑๔. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ
๑๕. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะป๊อก
๑๖. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง
๑๗. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ
๑๘. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง
๑๙. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์
๒๐. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ
๒๑. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม
๒๒. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง
๒๓. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา
๒๔. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว
๒๕. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยผักไผ่
๒๖. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ
๒๗. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง
๒๘. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน
๒๙. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง
๓๐. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น
๓๑. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม
๓๒. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ลาน้อย
๓๓. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง
๓๔. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า

สรุปโครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า, ดิน, น้ำ และวิศวกรรม
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
     โครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระปรีชาสามารถในศาสตร์ต่างๆของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เช่น โครงการเกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า และวิศวกรรม โดยการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวจะมีหน่วยงานพิเศษของทางราชการเป็นตัวกลางในการประสานงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
๑. โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า
     ๑.๑ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา
     ๑.๒ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ.นราธิวาส
     ๑.๓ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จ.สกลนคร
     ๑.๔ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย เน้นเรื่องป่าเปียก, ป่าชายเลน จ.เพชรบุรี
     ๑.๕ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน เน้นเรื่องสภาพแวดล้อม การฟื้นฟูป่าชายเลนและโครงการอนุรักษ์หญ้าทะเล จ.จันทบุรี
     ๑.๖ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ เน้นเรื่องทฤษฏีการปลูกป่า ๓ อย่าง จ.เชียงใหม่
     ๑.๗ โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว เน้นเรื่องการพัฒนา และฟื้นฟู จ.ลำพูน
     ๑.๘ โครงการห้วยองคต เน้นเรื่องการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม จ.กาญจนบุรี
     ๑.๙ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย เน้นการรักษาสภาพป่าชายเลนโดยวิธีทางธรรมชาติ จ.เพชรบุรี
     ๑.๑๐ โครงการพัฒนาปากน้ำปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
     ๑.๑๑ โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง เน้นการปลูกป่า การทำแนวกันไฟ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน
     ๑.๑๒ โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร จ.เชียงใหม่
     ๑.๑๓ โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยธรรมชาติและป่าพรุสิรินทร

๒. โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดิน
     ๒.๑ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ฉะเชิงเทรา
     ๒.๒ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส
     ๒.๓ โครงการศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี
     ๒.๔ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
     ๒.๕ โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่อาว จ.ลำพูน
     ๒.๖ โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี
     ๒.๗ โครงการทดลองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว จ.นครนายก
     ๒.๘ แนวพระราชดำริ "แกล้งดิน"
     ๒.๙ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการนำ "หญ้าแฝก" มาใช้ป้องกันการพังทลายของดิน
     ๒.๑๐ แนวพระราชดำริ "ห่มดิน" เพื่อการฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพ

๓. โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำ
     ๓.๑ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก จ.ลพบุรี, จ.สระบุรี
     ๓.๒ โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จ.ลำพูน
     ๓.๓ โครงการห้วยองคต จ.กาญจนบุรี
     ๓.๔ โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก
     ๓.๕ โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จ.เชียงใหม่, จ.ลำพูน
     ๓.๖ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี
     ๓.๗ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสียตามคลองต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร
     ๓.๘ โครงการบำบัดน้ำเสียโดยใช้พืช บึงมักกะสัน กรุงเทพมหานคร
     ๓.๙ โครงการ "แก้มลิง"
     ๓.๑๐ โครงการ "ฝนหลวง"
     ๓.๑๑ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย เน้นการบำบัดน้ำเสียชุมชน โดยวิธีทางธรรมชาติ จ.เพชรบุรี
     ๓.๑๒ โครงการผันน้ำเข้าที่ส่วนพระองค์ บริเวณพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา
     ๓.๑๓ โครงการป้องกันน้ำท่วมด้วยการเบี่ยงน้ำ คลองลัดโพธิ์ กรุงเทพมหานคร
     ๓.๑๔ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยทอน จ.หนองคาย
     ๓.๑๕ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี

๔. โครงการทางด้านวิศวกรรม
     ๔.๑ โครงการทางยกระดับลอยฟ้าบรมราชชนนี
     ๔.๒ โครงการสะพานพระราม ๘
     ๔.๓ โครงการด้านการจราจร เกี่ยวกับการขยายถนนคอขวดจุดต่างๆ
     ๔.๔ ไบโอดีเซล และแก๊สโซฮอล์จากพืชของไทย
     ๔.๕ กังหันชัยพัฒนา
     ๔.๖ ฝายแม้ว หรือการจัดทำฝายชะลอน้ำ เพื่อฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม

๕. แนวพระราชดำริอื่นๆ
     ๕.๑ แนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่
     ๕.๒ แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

     รูปเสด็จตามโครงการพระราชดำริ

     รูปเสด็จตามแนวพระราชดำริ