วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กลอนวันแห่งความรัก

     กลอนแปดแตกต่างจากกลอนแปดสุภาพ คลิกดู เสียงวรรณยุกต์ของกลอนแปดสุภาพ
     สำหรับเว็บบล็อก "กลอนแปด" นี้จะประกอบไปด้วยกลอนแปดสุภาพ  หัวข้อใหญ่ ดังต่อไปนี้
๑. กลอนแปดสุภาพ กับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมตัวอย่างกลอนแปด (หน้าแรกนี้)  
๒. กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรักความเข้าใจใน ๓ สถาบันหลักของชาติไทย คือ
    ๒.๑ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันชาติ ด้านมนุษยศาสตร์ ดังต่อไปนี้
          ๒.๑.๗ วันครู
          ๒.๑.๑๒ ๕ อ.
          ๒.๑.๑๓ รถติด
          ๒.๑.๑๖ รัก
     ๒.๒ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันศาสนา มีกลอนธรรมะ ดังต่อไปนี้
     ๒.๓ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังต่อไปนี้

          
     กลอนแปดสุภาพของท่านสุนทรภู่ ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร

     กลอนแปดสุภาพของท่านสุนทรภู่ แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ

     กลอนแปดสุภาพของท่านสุนทรภู่ เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป  

      กลอนแปดสุภาพของท่านสุนทรภู่ อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวง

     กลอนแปดสุภาพของท่านสุนทรภู่ ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาล

หมายเหตุ ผู้เขียนเน้นสัมผัสในทุกวรรคโดยแนวการสัมผัสในได้ยึดหลักจากบทกลอนที่เป็น Idol คือ
“น้ำใส  ไหลเย็น  เห็นตัวปลา”

กลอนแปดสุภาพ  (คลิกดูเสียงวรรณยุกต์)
กลอนวันแห่งความรัก...ตลอดไป (Forever Valentine)
---------------------------------------
     
     "๑๔ กุมภาฯ มาถึง ซึ่งความหมาย
วาเลนไทน์ ใจภักดิ์ รักเสมอ
ตลอดไป ใจยง คงรักเธอ
มิเคยเพ้อ เผลอจิต คิดนอกใจ
     รักคือคุณ หนุนมา พาเลิศล้ำ
รักคือธรรม นำทาง สว่างใส
รักคือคู่ อยู่ครอง ต้องอภัย
รักคือให้ ใจซื่อ ถือวจี
     ตั้งแต่พบ สบตา พาไหวหวั่น
หญิงในฝัน มั่นใจ ใช่แม่ศรี
กริยา มารยาท มาดผู้ดี
เป็นสตรี ที่งาม กว่านามใด
     
     ทั้งใบหน้า มาร่าง ช่างสมส่วน
ทุกอย่างล้วน ชวนมอง ผุดผ่องใส
ต้องชะตา น่ารัก ประจักษ์ใจ
อยากชิดใกล้ ใฝ่หา ด้วยอาวรณ์
     เพียงหลับตา พาจิต คิดพลั้งเผลอ
เห็นหน้าเธอ เหม่อไป ไฟสุมขอน
ทั้งเช้าสาย บ่ายดึก นึกยามนอน
กายผ่าวร้อน ตอนจิต คิดเป็นแฟน
     สวยสง่า พาฝัน อัดอั้นจิต
ร่วมชีวิต คิดไป ให้สุขแสน
เป็นหนึ่งใน ใจพี่ ไม่มีแทน
รอสวมแหวน แม่นหมาย อยู่ปลายฟ้า

            
     เป็นความรัก ปักใจ ไว้ดั่งฝัน
ทุกคืนวัน นั้นเรา เฝ้าใฝ่หา
รักตราตรึง ถึงเธอ เสมอมา
เมื่อพบหน้า พาชื่น ระรื่นใจ
     หรือชะตา ฟ้าเห็น เป็นเนื้อคู่
สวรรค์รู้ ผู้นี้ ที่ฝันใฝ่
จึงหลอมจิต สนิทแนบ แอบฤทัย
สานสายใย ให้เรา เฝ้าประคอง
     ประสานมือ ถือใจ ไว้เป็นหนึ่ง
ให้ซาบซึ้ง ตรึงใจ ใสผุดผ่อง
ให้สมรัก ปักใจ ได้จับจอง
ให้เคียงครอง สองคน จนนิรันดร์

ประพันธ์โดยนายวัลลภ มากมี

เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๑

           
วันวาเลนไทน์
ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย (Wikipedia) สารานุกรมเสรี
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C
     วันนักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine's Day) หรือที่มักเรียกว่า วันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันวาเลนไทน์มีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นประเทศทางตะวันตก แม้จะยังเป็นวันทำงานในทุกประเทศเหล่านั้นก็ตาม
     "วันนักบุญวาเลนไทน์" แต่เดิมเป็นเพียงวันฉลองนักบุญในศาสนาคริสต์ยุคแรกที่ชื่อ วาเลนตินุส (แต่นักบุญชื่อนี้มีหลายองค์) ความหมายโรแมนติกโดยนัยสมัยใหม่ล้วนถูกกวีเพิ่มเติมในอีกหลายศตวรรษต่อมาทั้งสิ้น วันวาเลนไทน์ถูกำหนดขึ้นครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกลาซิอุสที่ 1 ใน ค.ศ. 496 ก่อนจะถูกลบออกจากปฏิทินนักบุญทั่วไปของโรมัน (General Roman Calendar of saints) ในปี ค.ศ. 1969 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 วันวาเลนไทน์มาข้องเกี่ยวกับรักแบบโรแมนติกเป็นครั้งแรกในแวดวงสังคมของเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ ช่วงกลางสมัยกลาง (High Middle Ages) เมื่อประเพณีรักเทิดทูน (courtly love) เฟื่องฟู จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 วันวาเลนไทน์ได้วิวัฒนามาเป็นโอกาสซึ่งคู่รักจะแสดงความรักของพวกเขาแก่กันโดยให้ดอกไม้ ขนมหรือลูกกวาด และส่งการ์ดอวยพรกัน
ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
     มรณสักขีในศาสนาคริสต์ยุคแรกหลายคนมีชื่อว่าวาเลนไทน์ ซึ่งวาเลนไทน์ที่มีการฉลองในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ คือวาเลนไทน์แห่งโรม (Valentinus presb. m. Romae) และวาเลนไทน์แห่งเทอร์นี (Valentinus ep. Interamnensis m. Romae) วาเลนไทน์แห่งโรมเป็นนักบวชในโรมผู้พลีชีพเพื่อศาสนาราว ค.ศ. 269 และถูกฝังที่เวียฟลามีเนีย (Via Flaminia) กะโหลกที่สวมมาลัยดอกไม้ของนักบุญวาเลนไน์ถูกจัดแสดงในมหาวิหารซานตามาเรียในคอสเมดิน โรม เรลิกอื่นพบได้ในมหาวิหารซานตาพราสเซเด (Santa Prassede) ในโรมเช่นกัน เช่นเดียวกับที่โบสถ์คาร์เมไลท์ถนนไวท์ไฟร์อาร์ (Whitefriar Street Carmelite Church) ในดับลินไอร์แลนด์ วาเลนไทน์แห่งเทอร์นีกลายมาเป็นบิชอปแห่งอินเตรัมนา (Interamna, ปัจจุบัน คือ เทอร์นี) ราว ค.ศ. 197 และกล่าวกันว่าท่านได้พลีชีพในช่วงการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในรัชสมัยจักรพรรดิออเรเลียน ท่านถูกฝังที่เวียฟลามีเดียเช่นกัน แต่คนละตำแหน่งกับที่ฝังวาเลนไทน์แห่งโรม เรลิกของท่านอยู่ที่มหาวิหารนักบญวาเลนไทน์แห่งเทอร์นี สารานุกรมคาทอลิกยังกล่าวถึงนักบุญคนที่สามที่ชื่อวาเลนไทน์ ผู้ซึ่งมีการกล่าวขานถึงในบัญชีมรณสักขียุคต้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ท่านพลีชีพเพื่อศาสนาในแอฟริการ่วมกับเพื่อนเดินทางจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับท่านอีกไม่มีส่วนใดที่โรแมนติกปรากฏในชีวประวัติยุคกลางตอนต้นแต่เดิมของมรณสักขีทั้งสามท่านนี้ ก่อนที่นักบุญวาเลนไทน์จะมาเชื่อมโยงกับเรื่องรักใคร่ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 นี้ ระหว่างวาเลนไทน์แห่งโรมกับวาเลนไทน์แห่งเทอร์นีนั้นไม่มีความข้องเกี่ยวกันเลย ศีรษะของนักบุญวาเลนไทน์ถูกเก็บรักษาไว้ในแอบบีย์นิวมินสเตอร์ วินเชสเตอร์ และเป็นที่เคารพบูชา แต่ไม่มีหลักฐานว่านักบุญวาเลนไทน์จะเป็นนักบุญที่ได้รับความนิยมก่อนบทกวีของเชาเซอร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 แม้แต่ในพื้นที่วินเชสเตอร์ การเฉลิมฉลองนักบุญวาเลนไทน์มิได้แตกต่างไปจากการเฉลิมฉลองนักบุญคนอื่นมาก และไม่มีโบสถ์ใดอุทิศถึงท่าน ในการตรวจชำระปฏิทินนักบุญโรมันคาทอลิก วันฉลองนักบุญวาเลนไทน์ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถูกตัดออกจากปฏิทินโรมันทั่วไปและลดขั้นไปอยู่ในปฏิทินเฉพาะ (particular calendar, ท้องถิ่นหรือประจำชาติ) ด้วยเหตุผล "แม้ความทรงจำเกี่ยวกับนักบุญวาเลนไทน์จะเก่าแก่ แต่ชื่อของท่านก็ถูกลดไปอยู่ในปฏิทินเฉพาะ เพราะนอกเหนือไปจากชื่อของท่านแล้ว ไม่มีข้อมูลอื่นใดทราบกันเกี่ยวกับนักบุญวาเลนไทน์ เว้นแต่ว่า ท่านถูกฝังที่เวียฟลามิเนียเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์" วันฉลองนี้ยังมีการเฉลิมฉลองอยู่ในบัลซาน (มอลตา) ที่ซึ่งมีการอ้างว่าพบเรลิกของนักบุญวาเลนไทน์ที่นั่น และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยผู้นับถือนิกายคาทอลิกดั้งเดิมที่ถือตามปฏิทินที่เก่ากว่าก่อนหน้าของสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่สองนี้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ยังมีการเฉลิมฉลองเป็นวันวาเลนไทน์ในนิกายอื่นของศาสนาคริสต์ ตัวอย่างเช่น วันวาเลนไทน์มีระดับระดับ "พิธีฉลอง" (commemoration) ในปฏิทินของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และส่วนอื่นของแองกลิคันคอมมิวเนียน
ตำนาน
     ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 หรือที่ 6 ผลงานชื่อ Passio Marii et Marthae ได้กุเรื่องราวการพลีชีพเพื่อศาสนาแก่นักบุญวาเลนไทน์แห่งโรม ซึ่งปรากฏว่ามิได้มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ใดๆ เลย ผลงานนี้อ้างว่า นักบุญวาเลนไทน์ถูกเบียดเบียนเพราะนับถือศาสนาคริสต์ และถูกสอบสวนโดยจักรพรรดิคลอเดียส กอธิคัสเป็นการส่วนตัว วาเลนไทน์ทำให้จักรพรรดิคลอเดียสประทับใจและได้สนทนากับท่าน โดยพยายามให้เขาเปลี่ยนไปนับถือลัทธิเพเกินโรมันเพื่อรักษาชีวิตของท่าน วาเลนไทน์ปฏิเสธและพยายามโน้มน้าวให้จักรพรรดิคลอเดียสหันมานับถือศาสนาคริสต์แทน ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงถูกประหารชวิต ก่อนที่ท่านจะถูกประหารชีวิตนั้น มีรายงานวาท่านได้แสดงปาฏิหาริย์โดยรักษาลูกสาวตาบอดของผู้คุมของเขา แอสเตอเรียส (Asterius) Passio สมัยหลังย้ำตำนานนี้ โดยเสริมเรื่องกุว่า สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 1 ได้ทรงสร้างโบสถ์ครอบสุสานของท่าน (เป็นความเข้าใจผิดกับผู้พิทักษ์ประชากร [tribune] ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชื่อ วาเลนติโน ซึ่งบริจาคที่ดินเพื่อสร้างโบสถ์ในขณะที่จูเลียสเป็นพระสันตะปาปา) ตำนานได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นข้อเท็จจริงโดยบันทึกมรณสักขีในภายหลัง เริ่มจากบันทึกมรณสักขีของบีดในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และมีย้ำในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ใน Legenda Aurea หนังสือนี้อธิบายคร่าวๆ ถึงกิจการของนักบุญ (Acta Sanctorum) ยุคกลางตอนต้นของนักบุญวาเลนไทน์หลายคน และตำนานนี้ถูกจัดเข้ากับวาเลนไทน์ใต้วันที่ 14 กุมภาพันธ์

3 ความคิดเห็น:

  1. ร่วมส่งใจ ให้กัน ร่วมปันบ้าง
    ร่วมกันสร้าง ทางใหม่ ไปพร้อมกัน
    ร่วมกันสุข ทุกข์มา ร่วมฝ่าฟัน
    ร่วมสุขสันต์ ฉันท์คู่ ร่วมอยู่ครอง
    จะยึดมั่น สัญญา ที่ว่าไว้
    จะยึดใจ ให้กัน ขั้นเนื้อทอง
    จะยึดรัก ภักดี มีใจผ่อง
    จะยึดครอง สองคน จนนิรันดร์

    จากกลอนแปด กลอนความรัก http://vallop-magmee.blogspot.com/2012/05/blog-post_01.html

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ6 กันยายน 2556 เวลา 17:44

      ได้รู้ถึงความรัก

      ลบ
    2. ไม่ระบุชื่อ6 กันยายน 2556 เวลา 17:45

      ได้รู้ถึงความรัก

      ลบ